พระรอด หนึ่งในชุดเบญจภาคี พระเครื่องกลุ่มเนื้อผงดิน ที่หายากที่สุด
พระรอด เนื้อในมีความหลากหลายตามกาลเวลาและแร่ธาตุองค์ประกอบในดิน พระรอดองค์ในภาพนี้ ผิวนอกที่ดูนวลอมขาว อมเทา อมเขียม อมฟ้า บ่งบอกถึงเนื้อมวลด้านในต้องเป็นสีฟ้านวล จัดว่าเป็นสีที่หายากที่สุด
พระรอด เนื้อในมีหลายสี ไม่ว่าจะเป็นเนื้อในเทา ขาวนวล แดง ดำ ส่งผลถึงองค์ประกอบคราบผิวด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะล้อกับคราบผิวนอก เว้นแต่พระรอดดำ ที่มีคราบแตกต่างกับมวลเนื้อด้านใน
ความคมชัดของพระพักตร์ คือการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ทำให้พระพักตร์ ดูไม่กระด้าง
- ความไม่กระด้าง คือ ความเสมือนจริง
แบบฉบับการศึกษา พระเครื่องกลุ่มเนื้อดินเผา ในแบบการศึกษาของกระผมเอง
๑.ดูเนื้อ - ความเก่าและความเป็นธรรมชาติ (ชี้ขาดความเป็นพระแท้ได้)๒.ดูตำหนิพิมพ์โดยรวม เพื่อดูพุทธศิลป์ของความน่าจะเป็นพระแท้ (ใช้ประกอบความน่าจะเป็นพระแท้เท่านั้น)
ธรรมชาติ พระเครื่องเนื้อดิน
"พระรอด"
จุดที่ชี้ ไม่ใช่การดูตำหนิพระ แต่เป็นการดูความเป็นธรรมชาติ ความพริ้วไหว การกัดกร่อนตามกาลเวลา เส้นสายที่เรียวเล็กแบบปลายหนาม เส้นที่เจื่อเรียวมุดหาย ร่องการยุบเป็นขอบแบบลาดเท
พระรอด เป็นพระเครื่องเนื้อดิน ที่ถ่ายรูปแล้วให้สีแบบองค์จริงได้ยากมาก เนื่องจากอุปกรณ์ถ่ายรูปไม่สามารถสังเคราะห์สีและถ่ายทอดสีแบบธรรมชาติของพระรอดได้
สีที่เห็น จึงเสมือนหรือใกล้เคียงองค์จริงแค่ประมาณ ๙๐ เปอร์เซนต์เท่านั้น
พระรอด..ทอดพระเนตรต่ำ พระคง..ทอดพระเนตรตรง (พระรอดก้มหน้า พระคงเชิดหน้า) อันเป็นอัตลักษณ์
พุทธศาสตร์ขับพุทธศิลป์ หวังให้เพียงสืบทอดอายุกาลแห่งพระพุทธศาสนา
โดย...
ร.ต.อ.อภิชาติ ปัดภัย
รอง สวป.สภ.เมืองตาก
apichatimm@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น