พงไพร ผีป่า นางไม้

พงไพร ผีป่า นางไม้

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา เมืองพิษณุโลก







แบบฉบับการศึกษาเรียนรู้ พระเครื่องกลุ่มเนื้อดินเผา ในแบบการค้นคว้าของกระผมเอง

๑.ดูเนื้อ - ความเก่าและความเป็นธรรมชาติ (ชี้ขาดความเป็นพระแท้ได้)
๒.ดูตำหนิพิมพ์โดยรวม เพื่อดูพุทธศิลป์ของความน่าจะเป็นพระแท้ (ใช้ประกอบความน่าจะเป็นพระแท้เท่านั้น)


 พระนางพญากับการเรียนรู้ธรรมชาติพระเครื่องประเภทเนื้อดินหรือเนื้อดินเผา

พระนางพญาเป็นพระเครื่องกลุ่มเนื้อดินเผา อายุตามความเชื่อในประวัติการสร้าง และแบบแห่งพุทธศิลป์แล้ว เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ประมาณเกือบ ๕๐๐ ปีล่วงมาแล้ว 


หลักการศึกษาเรียนรู้ พระเครื่องกลุ่มเนื้อดินเผาในแบบของกระผมเอง

   ส่วนผิวเนื้อด้านบนหรือส่วนที่สัมผัสกับบล็อคแม่พิมพ์ จะมีผิวที่เรียบตึงและละเอียดกว่าส่วนอื่นๆ เนื่องจากส่วนที่สัมผัสกับแม่พิมพ์ จะถูกแรงกดและแรงขยี้เพื่อให้เนื้อมวลสารเกาะแน่นรวมเป็นองค์พระ มวลสารส่วนนั้นจึงถูกกดบดให้เป็นโมเลกุลที่เล็กจิ๋ว จึงดูละเอียดและเรียบตึง พอเรานำมาถูขัดจึงเกิดความมันวาว สวยงาม
   (วิธีนี้ทดสอบได้โดย การหยิบก้อนอิฐไม่ว่าเก่าหรือใหม่ ขึ้นมาขีดดู แล้วจะพบว่าส่วนที่ถูกขีดนั้นจะมีเนื้อที่ละเอียดกว่าส่วนที่ไม่โดนขีด เฉกเช่นเดียวกับช่างปูนโบกปูนแล้วเกลี่ยบดขยี้ผิว จึงทำให้ผิวปูนละเอียด เกิดความมันวาว)

  อนึ่งซอกลึก ซอกส่วนตั้งต่างๆขององค์พระ ที่ถูกแรงบดกระทำน้อยที่สุดจึงดูหยาบ และกลายเป็นนวลดินในที่สุด


   ขอบตัดข้างซ้ายองค์พระ ถูกวางเฉือนตัดจากบนลงมาล่างและตัดไม่สุดจึงเหลือเหลือขอบล่างเนื้อเกินให้เห็น และตรงส่วนกลางของขอบตัดจะยุบตัวเว้าเข้าไปเป็นแอ่งเล็กน้อย (ยุบหดตัวเล็กน้อย) นี่คือการตัดขอบพระนางพญาแบบวางกับพื้นแล้วกรีดตัด เพราะเหตุใด .... ตอนหน้าผมจะมาเล่าแบบพิสดาร เกี่ยวกับการตัดองค์พระและพิมพ์พระนางพญา 





 ส่วนของเนื้อเกินที่เหลือจากการตัด ถูกพับกดและสมานรวมเป็นผิวเดียวกันกับองค์พระ สังเกตส่วนพระกรรณหรือใบหูถูกปิดทับ แสดงถึงการตัดด้วยมือและตัดชิดองค์พระมาก


    ส่วนของเศษเนื้อเกินที่หลุดมาแล้วแปะติดเป็นก้อนแน่นแกร่ง ตามกาลเวลา แสดงถึงความเป็นธรรมชาติขององค์พระอีกส่วนหนึ่ง

    เม็ดแร่ในส่วนผิวบนที่สัมผัสกับอากาศหรืออุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม จะดูฉ่ำ เหี่ยวย่น และเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ซึ่งผมชอบเรียกว่า..สีอัญมณีดิบ ยิ่งเป็นแบบสีพลอยแดงดิบยิ่งสวยงามและดูง่าย ยกเว้นเม็ดแร่สีขาว จะปรากฎแต่ความเหี่ยวย่นอย่างเดียว เพราะสีขาวหรือสีขาวขุ่นยิ่งเก่ายิ่งซีดยิ่งขาว ส่วนเม็ดแร่ใส จะใสแบบฉ่ำหรือแบบอมน้ำแบบสีน้ำผึ้ง


  • ส่วนผิวหน้าด้านบนเม็ดแร่ จะเหี่ยวย่น สีเข้ม เพราะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
  • เม็ดแร่สีพลอยดิบ
  • เม็ดแร่ใสธรรมดา กับเม็ดแร่ใสแบบน้ำผึ้ง
  • ดินปีนเม็ดแร่ เนื่องจากมวลดินที่อ่อนกว่าจะยุบหดตัวลง คงเหลือเม็ดแร่ลอยเด่นอยู่ตำแหน่งเดิม เพราะมีมวลที่แข็งกว่า (ดินปีนหิน)

     ตำแหน่งของเม็ดแร่จะลอยอยูบนผิวเนื้อ เพราะเนื้อดินที่มีมวลอ่อนกว่าจะยุบตัวลง แบบ...ดินปีนหิน 



    ด้านหลังองค์พระปรากฏรอยปาดที่ไม่คม มีลักษณะเหนอะหนะ และขอบข้างจะตั้งขึ้นเป็นสัน เนื่องจากการยุบต้วของมวลเนื้อช่วงกลาง และไม่จำเป็นต้องมีรอยพิมพ์นิ้วมือ แต่พระเนื้อดินทุกองค์ต้องปรากฏรอยเซ็ตตัวของพื้นผิวที่วิ่งเป็นกลุ่มเส้น เนื่องจาก พอปาดตัดแล้วก็นำไปผึ่งให้แห้งเลย ปรากฎขอบข้างขององค์พระ ด้วยส่วนเนื้อที่ม้วนพับเข้าไปและสมานเป็นเนื้อเดียวกันกับองค์พระ



     เนื้อข้างในละเอียดและข้น ตามการละลายของมวลเนื้อที่ผ่านกาลเวลา ผิวนอกแห้งและแกร่งละเอียด
     นี่คือการเรียนรู้ธรรมชาติของพระเนื้อดินเผาที่ผ่านกาลเวลา ในองค์พระที่มีเม็ดแร่บนผิวไม่มาก แต่มีแร่เล็กๆประปราย 
     การเรียนรู้พระ ไม่มีที่สิ้นสุด และต้องมีความเข้าใจในกาลเวลาและการแปรเปลี่ยน 





ภาพและเรื่อง โดย...นักเดินทางเข้าป่าและเล่าเรื่อง
ร.ต.อ.อภิชาติ ปัดภัย 
apichatimm@gmail.com

3 ความคิดเห็น:

  1. สวยครับ ขอบคุณที่แบ่งปัน

    ตอบลบ
  2. เป็นแนวทางการพิจารณาพระเนื้อดินที่ถูกต้องที่สุดครับ พระเนื้อดินที่ผ่านการลเวลามายาวนาน ต้องมีการเซตตัว หด เหี่ยว แห้ง ยุบตัว เป็นธรรมชาติที่เกิดจากเวลาเท่านั้น ไม่ว่าเนื้อพระจะเก่าหรือไฃใหม่หากพิจารณาตามความจริงก็จะรู้ได้ ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ครับ

    ตอบลบ
  3. ผมมีพระนางพญาแต่ไมารู้ว่าเป็นของจริงหรือปลอม

    ตอบลบ