พงไพร ผีป่า นางไม้

พงไพร ผีป่า นางไม้

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

แร่กายสิทธิ์ ในองค์ "พระรอด" วัดมหาวันวรมหาวิหาร เมืองลำพูน

  "พระรอด" ตำนานแห่งพระเครื่องเมืองเหนือ อันเป็นที่สุดแห่งความนิรัตรายสมนาม "รอด" ซึ่งหมายความว่า "แคล้วคลาด ปลอดภัย นำมาซึ่งความสวัสดิภาพมงคล"
   ต้นกำเนิดพระเครื่องที่เก่าแก่ที่สุดในพระเครื่องชุดเบญจภาคี "พระรอด" พบที่กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูนหรือเมืองหริภุญไชยในอดีต ตามตำนานเล่าขานประวัติการสร้างร่วมหนึ่งพันกว่าปี บางตำราก็ว่า หนึ่งพันสามร้อยปี ตามการกำเนิดอาณาจักรหริภุญไชย

  "พระรอด องค์แร่กายสิทธิ์"


พระรอด..องค์นี้ กับความมหัศจรรย์ แร่กายสิทธิ์ (ฝังด้านหลัง) 




แร่กายสิทธิ์ ..พระรอด

   การค้นพบแร่กายสิทธิ์ นับว่าเป็นความมหัศจรรย์ที่เจ้าของเดิมทำพระตกหล่นหัก แล้วมีความเชื่อเรื่องโชคลาง เลยนำพระรอดองค์นี้มาให้กระผม จนนำมาสู่การค้นพบ สิ่งมหัศจรรย์ในองค์พระรอด ...ที่เก็บความศักดิ์สิทธิ์มากว่าพันปี "แร่กายสิทธิ์"


    "แร่กายสิทธิ์ ในองค์พระรอด" มีลักษณะแตกเป็นชั้นๆ แบบมีชั้นผิว คล้ายกับการเล่นแร่แปรธาตุ และเมื่อนำมาทดสอบการทำปฏิกิริยากับแม่เหล็ก ปรากฏว่า มีแรงดึงดูดเบา แบบอ่อนๆ และเกาะติดก้อนแม่เหล็ก แสดงถึงความเป็นแร่ ที่มีองค์ประกอบของโลหะธาตุ


เปรียบเทียบขนาดองค์พระ

  พระรอด ซึ่งมีขนาดที่เล็กอยู่แล้ว แร่กายสิทธิ์ยิ่งมีขนาดที่เล็กจิ๋วยิ่งกว่า ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ การค้นพบ..จึงนำมาซึ่งความมหัศจรรย์เป็นอย่างมาก เหมาะกับการเรียนรู้ความเป็นพระรอด โดยเฉพาะการศึกษาด้านเนื้อหาหรือเนื้อพระ มากว่าการศึกษาและจดจำพิมพ์พระ ตามตำราที่เคยบอกเล่ากันมา
    พระรอดองค์นี้ จึงมีเอกลักษณ์ที่มวลเนื้อที่เก่าแก่ แข็งแกร่ง แต่ดูหนึกนุ่ม "องค์พระแกร่ง แต่ให้ความรู้สึกที่ดูนุ่มลึก"

   ไม่ปรากฏเส้นแซมฐานผ้าทิพย์และเส้นแซมใต้ฐานเขียงขั้นแรก ตามที่ตำราต่างๆกล่าวอ้าง ตำหนิพิมพ์พระที่เคยกล่าวกันไว้ แทบจะใช้ไม่ได้เลย กับการนำมาเปรียบเทียบกับพระรอดองค์นี้ แสดงให้เห็นถึงพิมพ์พระมากกว่าที่เราคิดกันไว้และยังค้นหาไม่พบ หรือบางพิมพ์อาจสูญหายตามกาลเวลา
    กระผมได้กราบขอขมาเพื่อตบแต่งด้วยการตะไบองค์พระ เพื่อให้แร่กายสิทธิ์ดูโดดเด่น ปรากฏเป็นมวลเนื้อที่แข็งมากๆ
   การเรียนรู้เรื่องพระเครื่องจึงไม่มีที่สิ้นสุด คนที่รู้เรื่องพระ มีความรู้เรื่องพระประมาณแค่ยี่สิบเปอร์เซนต์ ซึ่งก็รวมถึงตัวกระผมเองด้วย เพราะฉะนั้นการเรียนรู้จึงต้องไปต่อเรื่อยๆ


แบบฉบับการศึกษา พระเครื่องกลุ่มเนื้อดินเผา ในแบบการศึกษาของกระผมเอง

๑.ดูเนื้อ - ความเก่าและความเป็นธรรมชาติ (ชี้ขาดความเป็นพระแท้ได้)
๒.ดูตำหนิพิมพ์โดยรวม เพื่อดูพุทธศิลป์ของความน่าจะเป็นพระแท้ (ใช้ประกอบความน่าจะเป็นพระแท้เท่านั้น)

พุทธศาสตร์ขับพุทธศิลป์ หวังให้เพียงสืบทอดอายุกาลแห่งพระพุทธศาสนา

 โดย...นักเดินทางเข้าป่าและเล่าเรื่อง
ร.ต.อ.อภิชาติ ปัดภัย 
รอง สวป.สภ.เมืองตาก
apichatimm@gmail.com

1 ความคิดเห็น: