พงไพร ผีป่า นางไม้

พงไพร ผีป่า นางไม้

วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2557

จากป่าอุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลก เมืองกำแพงเพชร สู่ป่ารอยเสือแม่ลูกอ่อน อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ (ช่องเย็น) ตอน..(2)

ป่ารอยเสือแม่ลูกอ่อน
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ 

(ช่องเย็น)

     รถขับเคลื่อนสี่ล้อเริ่มหมุนออกจากตัวเมืองกำแพงเพชร ยามตะวันคล้อยบ่ายกับยานพาหนะคู่ใจคันเดิม ตามมาสมทบด้วย Jeep Cherokee รวมสองคัน พร้อมเพื่อนสมาชิกเพิ่มเติม ไปกันแบบสบาย สมาชิกพร้อมกับยานพาหนะ ยังคงมีไม่มากนักเนื่องด้วยเพราะไม่ต้องการให้มีคนมาก อาจทำให้ป่าตื่น และเพราะคณะเราต้องการสัมผัสบรรยากาศป่าแบบธรรมชาติจริงๆ

     เราใช้เส้นทางสาย กำแพงเพชร - บ้านคลองน้ำไหล - บ้านคลองลาน - อุทยานแห่งชาติแม่วงก์(ช่องเย็น) รวมระยะทางประมาณ 102 กิโลเมตร มาถึงด่านตรวจอุทยานฯเวลาประมาณ 19:06 นาฬิกา

 ด่านชำระค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานฯ


       คืนนี้ต้องพักค้างคืนที่ตัวที่ทำการอุทยานฯเนื่องจากเป็นระเบียบอุทยาน ยังไม่อนุญาตให้ขึ้น "ช่องเย็น" ต้องรอพรุ่งนี้เช้า

ตื่นตอนเช้า เสียงเจ้า ''นกขุนแผน" เจ้าถิ่นภาคพื้นอากาศ ส่งเสียงเจื้อยแจ้วจำนรรจาตั้งแต่เช้า






ตามติดด้วยเจ้าถิ่นภาคพื้นดิน "แย้ใหญ่" ออกล่ามดดำ


อาบแดดเอาวิตามิน D ซักหน่อย ผิวจะได้สวย ฮ่าาาา...



กำลังจ้องจะเขมือบ มดดำ


 กำลังลอกคราบมาหมาดๆเชียวนะเอ็ง


สีสันกลางลำตัว

 มองอารายย..เพ่...(ปากทาลิปสีฟ้า ดูทะแม่งๆนะเอ็ง)

 แอ๊คชั่นนี้เรียกว่า "ตาดู หูฟัง จมูกดม"


อันนี้เป็นเรื่องของธรรมชาติครับ


           "รังชันโรง" หรือ"ผึ้งจิ๋ว" ภาคเหนือเรียก "ขี้ตังนี" ภาคอีสานเรียก "ขี้สูด"
           มีบทบาทสำคัญในการผสมเกสรพืชป่า ทำให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์และคงอยู่ได้ตลอดไป



ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ (กำแพงเพชร)

 ติดต่อลงทะเบียนและชำระค่าธรรมเนียมพักแรมและค่ายานพาหนะอีกรอบหนึ่ง

ประชาสัมพันธ์แนะนำ "ตัวคุ่น" ช่องเย็น (ผมโดนเพียบเลย คันๆดี ฮ่าาา..)

 อุณหภูมิวันนี้

 ด่านตรวจเอกสารผ่านทาง การขอขึ้นช่องเย็น



ระยะทางแหล่งท่องเที่ยว จุดหมายของเราอยู่ที่ "ช่องเย็น"


เส้นทางขึ้นช่องเย็นไม่ต้องใช้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ ไปแบบสบายๆ ช้าๆ สัมผัสกับธรรมชาติตามรายทาง 
















จุดชมวิว "กิ่วกระทิง"


"กิ่วกระทิง" มีลักษณะเป็นภูมิประเทศแบบช่องหุบเขาหรือช่องลมระหว่างหุบเขาหรือกิ่วระหว่างหุบเขา

บรรยากาศยามเช้า ฤดูนี้







ระยะทางจากจุดนี้ถึงช่องเย็นอีก 12 กิโลเมตร


ป้ายเขตอุทยานแห่งชาติแบบคลาสสิค

 จุดชมวิวขุ่นน้ำเย็น






ห้องสุขา

 ทางขึ้นศาลาชมวิว






ศาลาชมวิว










ลานจอด ฮ.



จากจุดนี้ถึง ช่องเย็น ที่หมายหลัก ใช้เวลาประมาณ 15 นาที





"ช่องเย็น" มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายกันกับกิ่วกระทิง แต่อยู่ในระดับภูมิประเทศที่สูงกว่า

     ฟังเสียงนกนานาชนิดร้องรับและส่งต่อกันเป็นทอดๆ โดยเฉพาะเสียงนกกระรางแก้มขาวหรือทางเหนือเรียกนกซอฮู้ ส่งเสียงทำนองเพลงประกาศเขตถิ่นฐานได้ไพเราะ เพลินใจมาก  บวกกับเสียงลมพัดแข่งกับเสียงนกร้อง ทำให้นกร้องดังก้องสนั่นป่า เพราะต้องการเอาชนะเสียงลม บรรยากาศธรรมชาติที่ยากจะหาสัมผัสได้ พร้อมสูดอากาศที่บริสุทธิ์ให้ฉ่ำปอด ชวนให้เราเพลิดเพลินกับธรรมชาติยิ่งนัก







อุณหภูมิ วันนี้ ( 1 เมษายน 2557 ) ตอนเช้าประมาณ 07.30 นาฬิกา

จุดพักค้างแรมคืนนี้ เป็นศาลาที่พัก อยู่ติดกับห้องน้ำ สะดวกสบายหน่อย

ประตูซุ้ม ป้ายบอก "สุดเขตเมืองกำแพง สุดแดนช่องเย็น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์"

ประวัติความเป็นมาของเส้นทางสายนี้

          ประตูซุ้มแสดงป้ายบอกเขตอีกฝั่งหนึ่ง แต่ผมว่าน่าจะเขียนว่า สุดเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอุ้มผางอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก  "ช่องเย็น" เป็นรอยต่อระหว่างเขตอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก กับเขตอำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร สุดเขตที่นี่ ตรง "ช่องเย็น"

ป้ายแสดงแนวเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อยู่ด้านหลังซุ้มประตูฯ

     ด้านหลังป้าย เป็นแนวเดินป่าศึกษาธรรมชาติ เป็นแนวถนนเดิมที่ในอดีตจะใช้เป็นเส้นทางเชื่อมต่ออำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก แต่ปัจจุบันต้นไม้ หญ้าขึ้นรก ปกคลุม สภาพป่าสองข้างทางสวยสมบูรณ์มาก เหมาะสำหรับกิจกรรมเดินป่า ส่องนก ฟังเสียงนกร้อง ดูรอยเท้าสัตว์เช่น รอยหมูป่า ศึกษาต้นไม้ และที่นี่ไก่ป่ามีให้เห็นตลอดทาง

นกกระรางแก้มขาว หรือ นกซอฮู้ เจ้าของบทเพลงขลุ่ยอันไพเราะ

นกตัวนี้ ไม่รู้จักหากินแถวๆพุ่มไม้





น่าจะเป็นรอยเท้าหมูป่า เปรียบเทียบขนาดกับไฟแช็ค ZIPPO หากินใต้ดงกล้วยป่า บริเวณน้ำซับ




ด่านสัตว์ จุดติดตั้งกล้องอินฟราเรด จับภาพสัตว์ของ WWF


 กล้องดักจับภาพอินฟราเรด เพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของป่า

ดอกเอื้องมอนไข่ กลีบขาว ปลายสีชมพูอมม่วง (พบเห็นในป่าแถวนี้และเขตป่าอุ้มผาง)

ทางเดินลงหุบห้วยล่างสุดของช่องเย็น ผ่านต้นไม้ใหญ่ ต้นไทร เปรียบเสมือน 7 ELEVEN ของสัตว์ป่า



ลำแสงแดดส่องทะลุ เล็ดลอดลงมาเป็นลำแสง "ไฟฉายแห่งธรรมชาติ"




ก้นห้วย จุดลึกสุดที่ผมเดินลงมา เงียบดีจริง แหงนมองข้างบนเจอแต่ต้นไม้สูงเสียดฟ้า


ชมต่อครับ เผชิญรอยเท้าเสือบนภูสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น