จังหวัดกำแพงเพชร เมืองมรดกโลก
พุทธศาสตร์...ขับ..พุทธศิลป์ เมืองต้นกำเนิดพระเครื่องชื่อดัง
พุทธศาสตร์...ขับ..พุทธศิลป์ จากรากเหง้าพุทธศิลป์แห่งอาณาจักรศรีวิชัย ขับพุทธศาสตร์การเผยแพร่พร้อมการค้าขาย สู่การกำเนิดพระเครื่องชื่อดัง...เมืองกำแพงเพชร....
อุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลก เมืองกำแพงเพชร
อุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลก เมืองกำแพงเพชร ( วัดพระแก้ว)
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ (ช่องเย็น)
รอยเท้าเสือป่าแม่วงก์(ช่องเย็น)
การเดินทางเที่ยวนี้ออกเดินทางช่วงฤดูร้อนปลายเดือนมีนาคม 2557 จากจังหวัดตาก แวะชมตัวเมืองกำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลก ก่อนเดินทางต่อสู่ป่ารอยเสือแม่ลูกอ่อน อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ (ช่องเย็น)
ระหว่างทางแวะซื้อเสบียงที่ตลาดมูเซอ (2) เขตอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก
เมื่อขับรถเข้าสู่เขตเมืองเก่าสายตาก็ต้องสะดุดเข้ากับตัวกำแพงเมือง ป้อมปราการ ซึ่งตั้งตระหง่านยืนหยัดเคียงคู่กับกาลเวลา ผ่านการศึกสงครามมาหลายครั้ง บัดนี้รากไม้ใหญ่ขอยึดเพื่อใช้อยู่อาศัย แต่ก็ยังช่วยทำให้บรรยากาศมีความอึมครึมดูเข้มขลัง รู้สึกถึงอดีตได้
รากไม้ใหญ่แผ่ปกคลุม
"ช่องตรวจการณ์ทหารยามประจำกำแพงเมือง"
ป้อมเพชร เป็นป้อมที่มีความลาดเอียงมากกว่าป้อมอื่นๆ เนื่องจากเป็นป้อมปืน เพื่อใช้ชักลากปืนใหญ่
ภายในป้อมเพชร
ศิลาเมื่อลูบสัมผัสดูจะสะดุดมือ ผิวไม่เรียบและมีความคม เหนียว แข็ง แกร่ง เหมือนเหล็ก
"ประตูผี" ชื่อน่ากลัวนะครับ ผมคิดว่าน่าจะเหมือกับทางล้านนา ที่ประตูผีจะใช้เป็นทางออกของการนำผู้เสียชีวิตไปฌาปนกิจในวัดหรือสุสานซึ่งอยู่นอกเขตกำแพงเมือง
โบราณสถาน "วัดป่ากล้วย"
โครงสร้างและพระพุทธรูปทำด้วยศิลา
โบราณสถาน "วัดมะขามเฒ่า"
ต้นมะขามใหญ่ขี้นคลุมยอดเจดีย์
เดินชมรอบๆตัววัดแล้ว สังเกตเห็นวัตถุบางอย่างมีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้นดินด้านหลังซากวิหาร จึงเข้าไปดู เมื่อพิจารณาแล้วจึงได้ทราบว่าเป็น "ยอดเจดีย์" ที่ต้นมะขามขึ้นแผ่รากปกคลุม ซึ่งหักพังทะลายลงมา ตอนแรกนึกว่าเป็นปูนปั้นอย่างเดียว แต่เมื่อดูใกล้ๆแล้ว น่าทึ่งกับคนสมัยก่อนจริงๆ เป็นยอดเจดีย์ที่ทำมาจากศิลาด้วยการสลักเป็นวงโค้ง ทำเป็นรูปปล้องไฉน ประกอบเป็นยอดเจดีย์ ลองยกดู หนักมาก ยกหรือขยับไม่ได้เลย
จากแนวอุทยานฝั่งกำแพงเมืองและป้อมปราการ ผมก็เดินทางข้ามมาอีกฟากฝั่งถนน ใกล้ศาลหลักเมืองเพื่อมาชมโบราณสถานที่สำคัญอีกแห่ง โดยเสียค่าเดินเข้าชม 20 บาท
"วัดพระแก้ว"กำแพงวัดเป็นศิลาแลงกลมทั้งท่อนสูงประมาณเมตรเศษ เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่บริเวณเขตพระราชวังเก่า เป็นสถานที่เกี่ยวพันกับตำนานและเชื่อว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานของ "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต" มาก่อน
"ศิลาแลง กำแพงวัด"
ลักษณะกำแพงวัดพระแก้ว เป็นศิลาแท่งกลมใหญ่ ตั้งวางซ้อนแและเป็นแนวเรียงกัน
ภายในและรอบๆบริเวณวัดพระแก้ว
เหลือเพียงรอยพระพุทธบาท ลองนึกจินตนาการภาพดู ถ้าเป็นพระพุทธรูปที่ยังสมบูรณ์อยู่ ผมเชื่อว่าจะเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากศิลา ที่มีขนาดความสูงใหญ่และโดดเด่นมาก
ซากยอดเจดีย์
เจดีย์ยังคงโดดเด่น
" เจดีย์ประธาน "
"พระพุทธรูปศิลา" ขนาดใหญ่
กลุ่มองค์พระพุทธรูปที่ยังคงมีสภาพเกือบสมบูรณ์และโดดเด่นที่สุดของโบราณสถานกลุ่มบริเวณนี้
เน้นมุมถ่ายกับกล้องคอมแพ็คธรรมดา
เพิ่มความสังเกตครับ รูร่องระบายน้ำ ยุคเก่าจริงๆ
"กระรอกใหญ่" วิ่งไล่หยอกล้อกัน ในขอบกำแพงอุทยานประวัติศาตร์ ยังคงสภาพผืนป่าอยู่ เป็นวัดหรือโบราณสถานที่อยู่ในป่า สำหรับท่านที่ชอบดูนก กระรอก ไม่ผิดหวังนะครับ นกนานาชนิด นกแก้วก็มี เสียงเจื้อยแจ้ว ดังทั้งวันครับ นกแก้วนี่ดังมาก เสียดายไม่มีเวลาแอบซุ่มถ่ายรูป ได้แค่เนี้ย.. กระรอกเผือกก็มีตัวใหญ่ สวยมากครับ
เจ้าตัวนี้ ไม่บอกก้รู้นะครับ ผมเรียก "งูมีตีน" ฮ่าาา..
จากนั้นผมมุ่งหน้าสู่เขตอุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลกอีกแห่งหนึ่งเพื่อชมวัดพระสี่อิริอยาบถ ใช้เวลาเดินทางจากจุดเดิมประมาณ 15 นาทีก็มาถึงแล้ว ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลก
เสียค่าธรรมเนียมการนำรถเข้า 50 บาท ก็ตระเวนทัวร์แบบสบายๆ ช้าครับ ไม่ต้องรีบแล้วเราจะสัมผัสกับบรรยากาศยามอดีตได้เต็มที่
ไปตามภาพ ใช้ภาพเล่าเรื่องเลยนะครับ
สังเกตุเสาแท่งศิลา มีขนาดใหญ่และสูงมากครับ นึกถึงเทคนิคการขุด การแกะสลัก และการชักลากของช่างสมัยก่อนจริงๆ
สงสัยมานานแล้วว่า "ศิลาแลง" มาจากไหน เดินชมโบราณอยู่นานก็เห็นร่องรอยการขุดแนวดินข้างทาง อยู่ใกล้ๆวัด ที่แรกนึกว่าเป็นคูระบายน้ำ อดสงสัยไม่ได้ต้องเดินไปดู ...บ่อศิลานี่เอง!! ค้นหาคำตอบมานาน ศิลา..เขาขุดขึ้นมาจากใต้พื้นดินที่เราเดินไปเดินมานี่แหละ แสดงว่า..เป็นเมืองแห่งศิลาจริงๆ
เห็นศิลาอยู่ใต้ดินชัดเจนครับ
แนวศิลาด้านล่างบ่อขุด
เพื่อพิสูจน์ทราบว่าใต้ผืนดินเป็นศิลาจริงเปล่า เห็นบ่อน้ำจึงต้องเดินไปดู
ชัดเจนครับ "บ่อน้ำศิลา"
"วัดพระสี่อิริยาบถ" ไฮไลท์ของการท่องเที่ยวครั้งนี้
เมื่อก่อนเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป ปางสี่อิริยาบถคือ ยืน (ปางประทานอภัย) นั่ง (ปางมารวิชัย -อ่านว่า มาน-วิ-ชัย) นอน (ปางไสยาสน์) เดิน (ปางลีลา) ครับ
ปัจจุบันคงเหลือพระพุทธรูปปางประทานอภัย (ยืน) ที่โดดเด่นที่สุด
ม้านั่งพักผ่อน ทางเข้าวัด คลาสสิคจริงๆ
บ่อศิลาแลง หน้าวัด
"วัดสิงห์"
"วัดช้างรอบ"
บันไดขึ้นลานพิธีกรรม ชันและสูงมากครับ
บ่อศิลา วัดช้างรอบ
อื่นๆ โดยรอบอุทยานฯ มีให้ชมอีกเยอะครับ
ใบเสมาคู่
สรุป..โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น โดยเฉพาะด้านการใช้วัสดุศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้าง รูปแบบทางศิลปกรรมแสดงออกถึงเชิงช่างฝีมือของบรรพชนในอดีตและอิทธิพลความเชื่อทางศาสนาพุทธ ประสมประสานกันระหว่างฝีมือเชิงช่างเพื่อการศาสนาและการศึกสงครามได้อย่างลงตัว โบราณสถานรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณป่าธรรมชาติ ซึ่งยังคงบรรยากาศพุทธศาสนาแบบอรัญวาสี (วัดป่า) ดังเช่นในอดีต
ย้อนรอยอดีตเรียบร้อยแล้ว..ผมก็หันพวงมาลัยรถเพื่อมุ่งหน้าสู่ป่าอุทยานแม่วงก์(ช่องเย็น)สุดเขตจังหวัดกำแพงเพชรครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น