องค์ที่ ๑ พระพิมพ์ซุ้มกอ องค์บาง เนื้อจัด
องค์นี้เป็นเนื้อดินเผาผสมว่าน ดูคล้ายกับแม่พิมพ์กลาง แต่กลับมีขนาดใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย แต่เส้นสายลายกนกยังคงมีความสวยงาม เป็นอัตลักษณ์เฉพาะ
ด้านหลังขององค์พระ เรียบนูน สวยงาม เนื้อหาจัดจ้านมาก ถ่ายภาพบนดินเก่าอายุพันกว่าปี มีสภาพกลายเป็นหินแล้ว
ภาพถ่ายบนดินเก่าอายุกว่าพันปี
ส่วนเนื้อในมวลสารองค์พระ จากรอยบิ่น เป็นดินกรองละเอียด
"ดูพิมพ์..ให้ดูได้ แต่ดูเนื้อ...ให้ดูเป็น"
องค์ที่ ๒ พระพิมพ์ซุ้มกอ องค์เข้ม ดุดัน
องค์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่มีกนก เนื้อดินเผาผสมว่าน ผิวชำรุด ทำให้เห็นชั้นผิวพระหลายชั้น ชั้นผิวนอกบางส่วนดูคล้ายหินอัคนี โทนสีเขียวเข้ม แดง แสด ขาวหม่น
ด้านหลัง รารักสีดำ เกาะฝังแน่นจริงๆ
ผิวชั้น มีความแข็งแกร่งดั่งหินอัคนี
ดินสีส้ม
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของดินเป็นสีเข้มขึ้น แบบสีส้มจัดๆๆแบบนี้หาชมได้ยากมาก
องค์ที่ ๓ องค์แพรวพราวแร่ดอกมะขาม
"สมเด็จบาง นางหนา ท่านว่าไว้ พระรอดนุ่มหนึกใน คล้ายสีผึ้ง ผงสุพรรณดินกรองต้องตราตรึง ซุ้มกอซึ้ง แร่มะขาม งามจับใจ"
องค์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่มีกนก เนื้อดินเผาผสมว่านแก่แร่ดอกมะขาม (ภาษานักเลงพระหรือแร่ดินเหนียวชนิดหนึ่งที่มีกรวดสีแดงเป็นองค์ประกอบอยู่มาก) มองดูแล้วไม่ชวนให้ละสายตาเลย ด้วยแร่ที่เรียกกันว่า...แร่ดอกมะขาม ช่างแพรวพราว อวดสีแดงอมชมพูเต็มทั่วทั้งองค์
เนื่องจากว่า เนื้อพระแกร่งด้วยแร่ดอกมะขาม เส้นสายรวมทั้งพระพักตร์องค์พระ จึงพิมพ์ไม่ค่อยติดด้วยเนื้อที่มีความแข็งจากการปน...แร่ดอกมะขาม (ภาษานักเลงพระ) มาตั้งแต่ต้น
คราบหินปูนพระองค์นี้ ปรากฏเป็นคราบสีแดงอมชมพู เพราะเป็นการละลายเอาเนื้อหินแร่ดอกมะขามออกมาด้วย
เนื่องจากเมืองกำแพงเพชร มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนหรือกึ่งร้อน ทำให้เกิดการผุพังของหินและการเกิดแร่สีแดงของหินกลายเป็นดินเหนียวปนก้อนหินกรวดสีแดง ซึ่งมีโครงสร้างองค์ประกอบหลัก ได้แก่ เหล็ก อลูมิเนียม ไทเทเนียมและแมงกานีส สะสมอยู่ และมักจะเกิดบริเวณเชิงลาดสูงสุดของเนินเขา ไม่เกิดบริเวณที่ราบลุ่มต่ำหรือบริเวณน้ำท่วมถึง จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ของ.....ดิน..เมืองกำแพง
มวลเนื้อพระ
การละลายตัวของสสาร
เนื้อพระมีส่วนผสมของดิน ดินแร่ดอกมะขาม และว่าน ผ่านกาลเวลามาหลายร้อยปี เนื้อพระจึงดูเป็นเนื้อละเอียดมาก เกิดจาก "การละลายตัวของมวลสสาร" รวมเป็นเนื้อเดียวกัน ออกวรรณะสีเทาอมเหลือง
การหดตัวของสสาร
เมื่อเนื้อพระเกิดการหดตัวหรือยุบแห้งเหี่ยวตามกาลเวลา จึงปรากฏแร่เม็ดจิ๋วเล็กๆ ผุดตามผิวพระหรือเม็ด(แร่)ผด
อัตลักษณ์
การปาดตัดที่ด้านหลังองค์พระ ทิ้งคราบรอยครูดของเม็ดแร่จิ๋วเป็นร่องยาวแคบ มีคราบหินปูนสีแดงอมชมพูละลายออกมาแทรกอยู่ในร่อง พร้อมกับเม็ดแร่ เหี่ยวฉ่ำหรือขุ่น โทนสีเข้มขึ้นตามกาลเวลา
"ดูพิมพ์..ให้ดูได้ แต่ดูเนื้อ...ให้ดูเป็น"
เขียนและเล่าเรื่องโดย...ร.ต.ท.อภิชาติ ปัดภัย (ชาติ เชียงราย) ..Knowledge are endless. "การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด" สงวนสิทธิ์ ๒๕๖๐...สนใจ..ติดต่อ apichatimm@gmail.com
เข้ามาศึกษาครับ...ชอบพระองค์แรกมากครับ พิมพ์นี้ไม่เคยเห็นแต่สวยงามมากครับ อยากทราบข้อมูลว่าจากกรุไหน เผื่อมีโอกาสได้พบเจอพิมพ์แบบองค์นี้ครับ...ขอบคุณครับ
ตอบลบ