พงไพร ผีป่า นางไม้

พงไพร ผีป่า นางไม้

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561

เล่าเรื่องด้วยภาพ ตอน ลักษณะทางกายภาพต่างๆของพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีลายกนก

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก

องค์เนื้อแก่ว่าน ชุบรักดิบใส

    พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนกองค์นี้ เนื้อพระแก่ว่าน แบบผ่านความร้อนน้อย มีผิวที่ใสออกน้ำตาลเข้ม จึงน่าจะเป็นพระที่นำมาซัดหรือชุบด้วยน้ำรักดิบ ที่เป็นน้ำรักที่ผ่านการกรองแล้ว แบบรักน้ำเกลี้ยง เพื่อรักษาผิวเนื้อองค์พระ เมื่อรักชนิดนี้แห้ง จึงมีสีออกแบบน้ำตาลเข้ม

     เป็นพระพิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนกที่สวยงาม สมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง
    รอยด้านหลังองค์พระ ..เมื่อพิจารณาดูแล้ว ไม่ใช่รอยที่เกิดจากการปาดตัดแม่พิมพ์ด้านหลังองค์พระ แต่น่าจะเป็นรอยที่เกิดจากการวางองค์พระตามพื้นผิววัสดุที่รองรับ สันนิษฐานว่า เมื่อทำการชุบรักแล้ว ผิวองค์พระจึงมีความเหลวและอ่อนนุ่ม เมื่อนำองค์พระมาวางผึ่งให้แห้งบนแผ่นไม้กระดานแบบที่มีรอยเสี้ยนไม้ องค์พระด้านหลังจึงปรากฏเป็นรอยเสี้ยนไม้ ตามที่ปรากฏ

(รอยด้านหลัง)




(ด้านข้าง)


แบบพุทธลักษณะที่สวยงาม สมบูรณ์มากที่สุดองค์หนึ่ง


พระกำแพง พิมพ์ซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีกนก

องค์แก่แร่แดง คราบผงดินในกรุ



    พระพิมพ์ซุ้มกอ องค์นี้ แบบวรรณะสีแดงอมส้ม แกร่ง เนื่องจากมวลสารมีเม็ดแร่กรวดแดงปะปนอยู่มาก จึงทำให้องค์พระ ดูแกร่ง มีสีแดงส้ม สวยงาม เรียกว่าเนื้อแกร่งจัดโดยธรรมชาติ ผิวพระมีเม็ดแร่ผุดประปรายทั่ว
      ผงดินในกรุ เกิดจากการสะสมของผงฝุ่นที่อยู่เฉพาะภายในกรุและปลิวมาเกาะตามผิวและตามซอกองค์พระ ลักษณะผงฝุ่นจึงมีความละเอียดแบบผงร่วน โทนสีซีดพรายดินแห้งเหี่ยวและเป็นสีเดียวกัน มีความหนาเกาะกันเป็นชั้นๆ

ภาพเปรียบเทียบคราบดิน


    จะเห็นความแตกต่างของคราบดินเก่าและคราบดินใหม่ได้อย่างชัดเจน ตามลักษณะดังนี้

คราบผงดินในกรุเก่า



  • พรายดินแห้งสนิท เป็นสีซีด ไม่สะท้อนตา
  • มีความแห้งเหี่ยวย่น การแตกระแหงมีร่องหนา มีร่องกว้าง แบบแยกผิวชั้นหน้าและชั้นล่าง ทำให้มองเห็นผิวเป็นชั้นๆ
  • มีความหนามาก สะสมและทับถมตามกาลเวลา

คราบดินใหม่


  • พรายดินยังไม่แห้งตาย เป็นสีสดใหม่และสะท้อนตา
  • ไม่มีความเหี่ยวย่น การแตกระแหงมักจะแตกเป็นร่องเดียว ไม่แยกให้เห็นผิวชั้นหน้าและผิวชั้นล่าง
  • มีความบางแบบผิวดินชั้นเดียว

(ด้านหลังองค์พระกรุเก่า)



    เพิ่มเติม...พราย คือลักษณะการสะท้อนแสงอุลตร้าไวโอเลต (UV) หรือที่เรียกว่า...แสงอาทิตย์ วัตถุไหนสะท้อนแสงชนิดนี้มาก ก็จะดูมีความสะอาด สว่าง สดใหม่ วัตถุชนิดไหน ซึบซับหรือดูดกลืนแสงชนิดนี้มาก จะทำให้วัตถุนั้นดูทึบเข้ม มืด ไม่สว่างสดใส 
    ระบบการดูดกลืนหรือซึมซับแสงประเภทนี้ นิยมนำมาใช้ในกระบวนการผลิตระบบนิรภัยในกระดาษ ป้องกันการปลอมแปลง เช่น การผลิตกระดาษหนังสือเดินทาง การผลิตธนบัตร การผลิตแผ่นการตรวจลงตรา (Visa) เป็นต้น 
    ข้อเปรียบเทียบการสะท้อนของพราย ที่เห็นได้ชัดเจนทั่วไป เช่น...การนำกระดาษ A4 ทั่วๆไป กับการนำธนบัตร ไปทดสอบภายใต้เครื่องกำเนิดแสงอุลตร้าไวโอเลต (UV) จะพบว่ากระดาษ A4 นั้นจะสะท้อนแสง ออกมาจนสว่างจ้า ส่วนธนบัตร จะดูดกลืนซึมซับแสง ไม่สะท้อนแสงออกมา ทำให้ดูมืดดำ แบบที่เรียกกันว่า...กระดาษตายพราย (Dark Paper)
    ส่วนในบ้านเรือนผู้คนทั่วๆไป ลองเปรียบเทียบกันโดยการนำกระถางเก่าและกระถางใหม่ๆ มาวางคู่กัน จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน

พระกำแพง พิมพ์ซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีกนก

องค์น้ำตาลเข้ม แกร่งมวลดินโบราณ


    พระ..เนื้อละเอียด แกร่ง เกิดจากการละลายตามอายุขัยของมวลสารภายใน ทำให้เนื้อพระหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้เกิดความแข็งแกร่ง 
    เดิมที..มีวรรณะออกสีส้มจางๆ ผ่านการเวลาและสภาพแวดล้อมที่มีรามาเกาะกินความชื้นบนผิวองค์พระ พออาหารราหรือความชื้นหมด รา..ตาย และทิ้งคราบเซลเกาะบนผิวองค์พระ จึงทำให้ดูเป็นสีดำ บดบังเนื้อพระ ชั้นผิวไหน มีความชื้นมาก รา..ก็มาเกาะกินและตายทับถมกันจำนวนมาก ในส่วนของผิวชั้นนั้นจึงดูดำเข้ม ชั้นผิวไหนมีความชื้นน้อย รา..มาเกาะกินน้อย ชั้นผิวนั้นก็จะมีสีดำจางๆ
    ผ่านกาลเวลาอันเนิ่นนาน จากพระที่มีส้มจางๆ พรายดินหมดสภาพหรือพรายดินตาย พระจึงดูทึบเข้มขึ้น องค์พระจึงดู เนื้อหาจัด แกร่ง ตามธรรมชาติ...อีกแบบหนึ่ง



พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก


องค์ชุบน้ำว่าน


    รายละเอียดของพระพักตร์ไม่ค่อยปรากฏชัดเจน เนื่องจากการกัดกร่อนและสลายตัวของมวลสสาร องค์พระดูแห้งแบบแข็งกรอบ แต่ก็มองดูแล้วนุ่มสบายตา วรรณะสีเหลืองหม่น แบบสีขาวปนแดงปนน้ำตาล ซึ่งเป็นสีที่มีอยู่แต่ในธรรมชาติ ไม่สามารถผสมสีสังเคราะห์ขึ้นมาได้

อัตลักษณ์


คราบน้ำว่าน


    ปรากฏคราบน้ำว่าน (คราบยางไม้) ปกคลุมบนผิวเฉพาะด้านหน้าขององค์พระ ลักษณะทิ้งคราบยางเหนียวเป็นสีน้ำตาลและสีดำ

การผุกร่อนทางกายภาพ


    การผุกร่อนของผิวพระ เนื่องจากการหลุดหรือเสื่อมสภาพของน้ำว่าน เมื่อน้ำว่านแข็งตัวจนผ่านกาลเวลาเกิดการหลุดร่อน ดึงเอามวลสสารหลุดออกมาด้วย ทำให้ผิวพระมีสภาพเป็นหลุมกร่อน

ความหลากหลายของชั้นผิว


   การทับซ้อนของชั้นผิว (แสดงส่วนเฉพาะด้านข้าง) มีการทับซ้อนของชั้นคราบหินปูนแรก แบบสีเทาเข้มหรือสีเข้มกว่า และชั้นของคราบหินปูนที่เกิดทับซ้ำอีกรอบหนึ่ง หรือคราบหินปูนใหม่ ..จึงมีสีที่อ่อนกว่าหรือสีเทาหม่น

การสลายและการประสานตัวของมวลสาร (สสาร)



 การละลายตัวจากภายในและการรวมประสานตัวกันใหม่ จึงทำให้แนวร่อง แอ่ง ที่ปาดตัดมวลสารด้านหลัง มองไม่เห็นแนวขอบที่เป็นเหลี่ยมคม ดูกลมกลืนกัน ไม่มีขอบและมีมิติที่ตื้นขึ้น

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์ชุบน้ำว่าน


"ดูพิมพ์..ให้ดูได้ แต่ดูเนื้อ...ให้ดูเป็น"
พระเครื่องดีๆ ไม่ได้มีแค่ในตำราหรือที่เขาเล่ากันมา

เขียนและเล่าเรื่องโดย...ร.ต.ท.อภิชาติ ปัดภัย  (ชาติ เชียงราย) ..Knowledge are endless. "การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด" 
     สนใจชมองค์พระ ติดต่อเมล apichatimm@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น