พงไพร ผีป่า นางไม้

พงไพร ผีป่า นางไม้

วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2561

"พระรอด" พิมพ์ใหญ่ วัดมหาวัน ลำพูน องค์ล่าสุดต้นปี ๒๕๖๑

    "พระรอด" พิมพ์ใหญ่ วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน น้องใหม่ล่าสุดองค์นี้...หลังจากได้มาแล้ว มองคร่าวๆเป็นพระรอดที่สวยมากๆ แต่ก็อยากจะเห็นเนื้อในขององค์ท่าน ตอนแรกไม่กล้าที่จะล้างคราบดินออก กลัวองค์พระจะเสีย  แต่สุดท้ายก็ขอล้างด้วยวิธีธรรมดาก็แล้วกัน ด้วยการล้างแช่ในน้ำอุ่น ปัดเบาๆค่อยๆด้วยแปรงสีฟัน....สุดท้ายเมื่อเห็นองค์พระตอนเนื้อเปิดหมาดๆ ขนลุกซู่เลย สวยงาม มหัศจรรย์มาก



    
    พระรอดองค์นี้ เป็นพระที่ดูเนื้ออ่อน นุ่ม นวลตามาก ลักษณะออกสีเทาอ่อน อมขาวอมเหลืองนิดๆ แสดงถึงองค์พระไม่ถูกความร้อนในระหว่างการเผามาก องค์พระจึงดูมีขนาดใหญ่ สมบูรณ์ ไม่หดตัวจากความร้อนของไฟ เส้นสายลายเส้นเป็นธรรมชาติ มีเส้นเสี้ยนแซม เส้นเล็กๆ วิ่งคู่เส้นใหญ่ แบบธรรมชาติ ชัดเจนมาก

องค์พระ ถ่ายบนก้อนอิฐเก่าอายุ...กว่าพันปี 




    พระ...ที่ไม่เคยใช้อาราธนาห้อยมาก่อน พุทธศิลป์จึงดูเห็นได้ชัดเจนเป็นธรรมชาติ เส้นส่วนพระมาลา เครื่องทรงชั้นสูงที่สวมทับด้านซ้ายขององค์พระ ดูเป็นเส้นคม ปลายตวัดเข้าด้านในแบบขอเบ็ด สวยคมชัดเจน แบบที่นิยมเรียกกันว่า.."หูขอเบ็ด"


"รอยครูดแก้มซ้าย"

    รอยครูดแก้มซ้าย อันเป็นเอกลักษณ์ของพระรอดพิมพ์ใหญ่ เป็นรอยที่เกิดจากการนำพระออกจากแม่พิมพ์ จะปรากฏเฉพาะที่แก้มด้านซ้ายเท่านั้น สังเกตว่าพระพักตร์หรือใบหน้าขององค์พระรอดพิมพ์ใหญ่นี้ จะเอียงมาทางซ้ายของเรา จึงปรากฏรอยครูดเฉพาะแก้มด้านนี้

    เส้นสายความสมบูรณ์ส่วนอื่นๆ ที่สามารถถ่ายรูปออกมาได้ และปรับแสงเพิ่มนิดหน่อย เพื่อให้เน้นรายละเอียดจุดเล็กๆ



"ดูพิมพ์..ให้ดูได้ แต่ดูเนื้อ...ให้ดูเป็น"
"บุญวาสนา..ควบคู่บุญแสวงหา"

   ตามติดมาด้วย สุดยอดแห่งนิรันตรายที่เพิ่งได้มาในความครอบครองล่าสุด เมื่อต้นเดือนเมษายน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ นี่เอง

"พระรอดลำพูนดำ เนื้อและพิมพ์ทรงชั้นครู" 


"พระรอด นุ่มลึก หนึกใน คล้ายดั่งสีผึ้ง" 
   ในสมัยยังเด็ก จำได้ว่าสีผึ้งทาปาก ของเมืองทางล้านนาหรือจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย จะมีสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อแบบกระด้างนอกแต่นุ่มใน (เนื่องจากผิวภายนอกสัมผัสกับอากาศ) และมีกลิ่นหอม ชวนดมและชวนใช้ทาริมฝีปากเป็นอย่างยิ่ง คนสมัยก่อน..จะเคี่ยวสีผึ้งแล้วหยอดม้วนวนเป็นขดเล็กๆ บนใบตองแห้งหรือใบตองลนไฟ แล้วจึงพับม้วนห่อทับสีผึ้ง ขนาดประมาณเม็ดลูกอมในปัจจุบัน  สมัยก่อนราคาห่อละ ๕๐ สตางค์ ก่อนจะพัฒนามาใช้วัสดุบรรจุเป็นพลาสติก รูปทรงทรงแบบตัวเรือของหมากรุกไทย ที่สามารถแกะเปิดฝาได้ และเพิ่มราคาขึ้นมาที่อันละ ๑ บาท ถึง ๒ บาท
     เนื้อแบบกระด้างนอกแต่นุ่มใน หรือนุ่มลึกหนึกใน ถ้ายังไม่เข้าใจ ลองเปรียบเทียบหรือจินตนาการดูเนื้อปลาช่อนแดดเดียวครับ ผิวนอกกระด้าง แต่ผิวในเนื้อปลาจะนุ่ม (ชวนรับประทานจริงๆ)

อัตลักษณ์


    พระพักตร์ที่มีรายละเอียดเต็ม  คมชัด ลึก ทุกรายละเอียด ผิวที่ปกคลุมด้วยคราบหินปูน (Calcite) ดูเป็นแผ่นขาวนวลบางๆ คลุมทั่วผิว ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้วยผิวเนื้อที่เป็นสีดำ จึงทำให้สังเกตเห็นคราบหินปูน (Calcite) ได้ง่ายและชัดเจนมาก 

ตัวอย่าง คราบหินปูน (Calcite) ในหินอัคนี



    จีวรที่ห่มคลุมเป็นผืนบางๆ และเป็นริ้วๆ  แสดงถึงพุทธศิลป์แห่งทวารวดีโดยแท้จริง โดยในองค์พระรอดองค์นี้ จะสังเกตเห็นได้ชัดที่ข้อพระกร (ข้อมือ) ทั้งสองข้าง สวมรัดด้วยทองกรหรือกำไลข้อมือส่วนพระอุระ (อก) จีวรห่มคลุมชัดเจน


    อัตลักษณ์ที่โดดเด่นมากของพระรอดลำพูนดำองค์นี้ พบว่าปีกหรือเนื้อเกินทั้งสองข้าง โดยเฉพาะปีกด้านซ้ายขององค์พระ จะม้วนพับกลับเข้าไปข้างหลัง ผ่านกาลเวลาจนดูเกือบจะสลายหรือละลายเป็นเนื้อเดียวกัน 




"อีกที่สุดของพระลำพูนดำ"

"พระรอดดำ คราบสีไพลแห้ง พิมพ์ทรง..มิติคมชัด" 


   พระรอดพิมพ์ใหญ่ เนื้อดำองค์นี้ เนื้อข้างในดำ ผิว..วรรณะออกสีเหลืองกลัก แบบสีหัวไพลแห้ง พิมพ์ทรงลึกคม ชัดเจน กลุ่มโพธิ์ได้มิติ จัดวางระเบียบสวยงาม โพธิ์รูปทรงขวาน โพธิ์รูปทรงศร คมชัดเจน

   พระพักตร์ - พระอุนาโลม (จุดกึ่งกลางไรพระศก) เว้นครึ่งช่องไฟในเส้นไรพระศกสวยงาม  พระเมาลี (มวยผม) แยกจากเส้นพระเกศา อย่างชัดเจน สวยงาม


    ยิ่งกว่าใดๆและมากกว่าคำว่าพระเครื่อง "พระรอดดำ หรือ พระลำพูนดำ"  ในความเป็นที่สุดแห่งคำว่า "หายาก"......


"อีกที่สุดของความหายาก"

"พระรอด พิมพ์ต้อ เนื้อเขียวมอย คราบน้ำตาล " 



    พระรอดพิมพ์ต้อ นับว่าเป็นพระเครื่องที่หาชมได้ยากและดูยากจริงๆ มีขนาดเล็กกว่าพระรอดพิมพ์ใหญ่ องค์นี้มีวรรณะเนื้อในแบบสีเทาอมฟ้าหรือที่นิยมเรียกว่าสีเขียวมอย คราบผิวนอกสีน้ำตาลกาแฟ องค์พระอาจจะดูรายละเอียดไม่ค่อยชัดนักแถมสับสนจุดที่จะดู แต่เส้นผ้าทิพย์และเส้นแตกหรือเส้นน้ำตกใต้พระชานุ (เข่า) ซ้าย ใต้พระกัประ (ข้อศอก)ซ้าย ดูมีเสน่ห์ ขอบฐานล่างสุดที่ยื่นออกสูงเสมอความสูงของพระพักตร์ (ใบหน้า) ขอบปีกเนื้อเกินทั้งสองข้าง ชวนให้ค้นหาความเป็นเอกลักษณ์และจุดสิ้นสุดของพระรอดพิมพ์นี้



  เขียนและเล่าเรื่องโดย...ร.ต.ท.อภิชาติ ปัดภัย  (ชาติ เชียงราย) ..Knowledge are endless. "การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด" ขอชมองค์พระ ติดต่อ..apichatimm@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น