พงไพร ผีป่า นางไม้

พงไพร ผีป่า นางไม้

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เรื่องเล่าสู่ตำนาน ตอน..พระผงสุพรรณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี (เมืองพันทูม)

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ (หน้าฤษี) กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี (เมืองพันทูม เมืองพระยาศรีธรรมาโศกราช )



    พระผงสุพรรณ องค์สวยคมสมบูรณ์ แบบพระสภาพเดิมๆ ยังไม่ผ่านการอาราธนาใช้ หาชมได้ยากยิ่ง ส่วนพระผงสุพรรณองค์ในภาพนี้ ยังอยู่ในสภาพเดิมๆ ค่อนข้างสมบูรณ์ กระผม..ได้เพียรพยายามศึกษาอยู่เป็นระยะเวลานาน จึงได้ค้นพบสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์หรือตำหนิพิเศษ  ที่คิดว่าเป็นจุดที่แสดงถึงความสวยคมสมบูรณ์เป็นพิเศษ แห่ง...พระผงสุพรรณ 

ตำหนิเอกลักษณ์..พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ (หน้าฤษี) 

๑.พระพักตร์ฤษี (ใบหน้าแบบผู้กำลังบำเพ็ญ)


    พระพักตร์...ที่ค่อนข้างกลมป้าน ดูละม้ายคล้ายคนจริงไม่เหมือนพระพักตร์มหาบุรุษ(พระพุทธเจ้า) หรือแบบพระพักตร์ของพระพุทธรูปทั่วๆไป - บุคคลิกที่ดูคล้ายผู้กำลังบำเพ็ญ สุขุม วางสงวนในท่าทีแห่งผู้มีอำนาจบารมี น่าเกรงขาม
     กระผม..จึงเรียก...พิมพ์พระพักตร์ฤษี  และดูคล้ายๆกับพระพักตร์พระพิมพ์ซุ้มกอ..แห่งเมืองกำแพงเพชร


๒.พระมาลาชั้นสูง แบบ ๓ ชั้น สายพระเนตรหลบทอดลงต่ำ

พระมาลาชั้นสูง แบบ ๓ ชั้น
    ลักษณะพุทธศิลป์แบบอู่ทองที่สำคัญประการหนึ่ง คือ..การสวมพระมาลา ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการแต่งเครื่องทรงประดับชั้นสูง สวมเครื่องทรงแต่งประดับด้วยพระมาลา(หมวกเครื่องทรง) แบบ ๓ ชั้น คล้ายพระรอด ลำพูน หรือพระซุ้มกอ กำแพงเพชร

สายพระเนตรทอดลงต่ำ
     เปลือกดวงพระเนตรด้านซ้ายเป็นสันนูน รีเฉียง หลบสายพระเนตรทอดลงต่ำ เสมือนผู้มีความอ่อนน้อม และสายพระเนตรเฉียงซ้ายแบบผู้ปล่อยวาง แต่แฝงด้วยบารมี น่าเกรงขาม ดูสุขุมเยือกเย็น

๓.พระกรรณ - หนวดหนู หูช้าง

   พระกรรณซ้าย..ลักษณะเป็นผืนใหญ่ มีร่องเส้นโลหิต (เส้นเลือด) ลักษณะกางโบก ภาพรวมดูคล้ายๆกับใบหูช้างไทย
   พระกรรณขวา..มีเส้นยึดกับพระพักตร์ แหลมยาวสองเส้น ตวัดวาดเฉียง ดูคล้ายหนวดหนู


๔.พระกรรณ (หู) ขวา รูป ร เรือ ปลายแหลมฉมวก

    พระกรรณ (หู) ด้านขวา มีลักษณะเป็นรูปคล้ายอักษรไทย รูปพยัญชนะ ร เรือ แต่มีหัวเป็นเงี่ยงบากแหลม คล้ายๆปลายฉมวก
    ลักษณะของเงี่ยงบากแหลม น่าจะเกิดจากเส้นขอบนอกของสันริมขาดหายไป เลยดูคล้ายบากเงี่ยงแหลม


๕ .พระอุระ (อก) แบบกระโหลกศรีษะช้าง

    กระผมว่า..พระ..พุทธศิลป์แบบอู่ทอง มีความโดดเด่นมากที่พระอุระ ซึ่งเป็นแบบเน้นทรวดทรงเอวที่คอดผอม เช่นกัน..และพระผงสุพรรณส่วนมากเอวครึ่งล่างจะยุบตัวลง แยกส่วนบน - ล่าง อย่างเห็นได้ชัด ปรากฏเส้นวิ่งเป็นทิวริ้วจากการยุบตัว

๖.จุดเนื้อเกิน - เอกลักษณ์

    บางท่าน...อาจจะเรียกว่า กลุ่มเม็ดผด แต่เมื่อพิจารณาแล้ว กระผมว่า..เป็นกลุ่มหรือจุดเนื้อเกินมากว่า เพราะพบลักษณะเช่นนี้อีก ในพระผงสุพรรณอีกหลายๆองค์ และปรากฏในตำแหน่งเดียวกัน กลายเป็นอัตลักษณ์ของพระผงสุพรรณไปโดยปริยาย
    หากเป็นกลุ่มเม็ดผด ก็(อาจจะ) มีปรากฏในพระเนื้อดิน แต่กระจายไปในตำแหน่งที่แตกต่างกันไป


๗.การแกะแม่พิมพ์ต่อเนื่อง

    ลักษณะการแกะแม่พิมพ์ต่อเนื่อง จึงทำให้ส่วนตั้งแต่พระชานุ (เข่า) ทั้งสองข้าง มีความต่อเนื่องกัน มีมิติที่ลอยนูนสูง และมีการเซาะร่องให้ลึก เพื่อให้ได้มิติองค์พระที่สมบูรณ์
    ร่องรอยที่เกิดลึกจากการเซาะร่อง พลอยทำให้นิ้วพระหัตถ์ขวาทั้งสี่นิ้วเลือนหายไปด้วย

๘.คราบยางไม้

    ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพระผงสุพรรณ คือกรรมวิธีการชุบรักษาเนื้อองค์พระด้วยยางไม้ (ปัจจุบันเรียกว่า...รักหรือยางรัก) คล้ายกับกรรมวิธีการทำพระ...สกุลพระเครื่องเนื้อดินแห่งเมืองกำแพงเพชร จนกระผม...ผู้เขียนสันนิษฐานว่า...พระผงสุพรรณ น่าจะมีความเกี่ยวเนื่องกันกับพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ดัง..ตำนานที่จารึกในลานทองกล่าว...กันมาว่า "เสร็จแล้ว ให้นำ....ไปประดิษฐานยังพระสถูปเจดีย์ ณ เมืองพันทูม" ซึ่งแสดงความหมายได้ว่า..พระผงสุพรรณ ได้มีการทำ ณ สถานที่อื่นหรือในเมืองอื่น แล้วจึงได้อัญเชิญหรือนำมาประดิษฐานไว้ในพระสถูปเจดีย์  ณ เมืองพันทูม ในยุคพระยาศรีธรรมมาโศกราช ดังจารึกหรือที่...เมืองสุพรรณบุรี แห่งนี้ ซึ่งกระผม...จะได้กล่าวต่อไป เกี่ยวกับการค้นพบพระพิมพ์เนื้อดินเผา ที่ละม้ายคล้ายคลึงกับพระผงสุพรรณ ในโอกาสต่อไป
    ยางไม้...ที่นำมาชุบเพื่อรักษาองค์พระผงสุพรรณ เป็นยางไม้ที่มีสีดำหรือสีเทาดำหรือสีน้ำตาล ซึ่งมีความแตกต่างจากยางไม้ที่ชุบรักษาผิวองค์พระเครื่องเมืองกำแพงเพชรโดยเฉพาะพระซุ้มกอ จะไม่มีสีหรือมีความใส สามารถมองเห็นผิวเนื้อในองค์พระพิมพ์...ได้
    ยางไม้...ทำให้พระพิมพ์เกิดความคงทน ไม่แตกหักหรือตกบิ่นง่าย  และยางไม้ ในพระพิมพ์ดินเผาแห่งเมืองกำแพงเพชร ยังได้เพิ่มความเงางามให้กับองค์พระได้อีกด้วย
    คราบยางไม้...ที่ปรากฏเป็นคราบดำ ในพระผงสุพรรณ ดูคล้าย "ราดำ" จึงมีการเรียกว่า "คราบรารัก" ซึ่งปรากฏได้ทั้งองค์ที่มีราดำ หรือไม่มีราดำ หรือมีได้ทั้ง ราดำและคราบยางไม้


๙.ตำหนิพิเศษ แสดงถึงความสวยคม สมบูรณ์


นิ้วพระบาท (นิ้วเท้า) ครบทั้ง ๕ นิ้ว

    นิ้วพระบาทหรือนิ้วเท้าขวา ปรากฏครบชัด ติดทั้ง ๕ นิ้ว ซึ่งแสดงถึงความสวยคม สมบูรณ์ ของพระพิมพ์เนื้อดินเผา ซึ่งรายละเอียดเล็กๆแบบนี้ จะพิมพ์ติดได้ค่อนข้างยาก หรือพิมพ์ติดได้ในองค์พระที่พิมพ์ในลำดับแรกๆเท่านั้น จะว่าเป็น "พระผงสุพรรณ องค์ปฐม" ก็ว่าได้



ด้านหลังพระผงสุพรรณ

  ด้านหลังพระผงสุพรรณ ตามจารึกลานทอง กล่าวไว้ว่า "....ให้พิมพ์ด้วยลายมือของ..พระมหาเถระปิยทัศสะสี ศรีสารีบุตร"  
    ลายนิ้วมือ.. จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ประการสำคัญอีกประการหนึ่งของพระผงสุพรรณ แต่หากองค์ไหนที่ปรากฏลายนิ้วมือไม่ชัดเจน ก็ยังไม่ใช่ข้อยุติ จึงน่าจะพิจารณาจากจุดอื่นๆ เช่นเนื้อหาและความเก่า...เป็นต้น
    ในแนวคิดด้านกรรมวิธีการทำพระ..ลายนิ้วมือด้านหลังองค์พระ จึงเกิดจากแรงกดมวลเนื้อเข้าไปในเบ้าแม่พิมพ์ด้วยนิ้วหัวแม่มือเป็นหลัก  ในการทำองค์พระ...เพื่อให้ได้ครบจำนวนทั้ง ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ ลายนิ้วมือจึงไม่น่าจะกระทำได้ด้วยบุคคลเพียงคนเดียว กระผม..ผู้เขียนจึงเห็นว่า การพิจารณาพระผงสุพรรณ จึงน่าจะพิจารณาจากองค์ประกอบจุดอื่นเป็นหลักที่สำคัญโดยเฉพาะเนื้อหาและความเก่า
   พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นที่มีมวลเนื้อที่ละเอียด เนื่องจากผ่านกาลเวลามาประมาณกว่าหกร้อยปี มวลเนื้อจึงสลายตัว การสลายตัวของโมเลกุลทำให้ได้มวลเนื้อละเอียด เช่นเดียวกับพระรอด วัดมหาวัน ลำพูน

พระรอด พิมพ์ใหญ่ เนื้อดำ(คราบเหลืองไพล) วัดมหาวัน ลำพูน


 พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ (หน้าฤษี) กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี (เมืองพันทูม เมืองพระยาศรีธรรมาโศกราช )



    และการเกิดหรือการแปรสภาพเป็นหินปูนแทรกในพระเนื้อดินทั่วๆไปทำให้เกิดความแกร่ง พระผงสุพรรณจึงมีมวลเนื้อที่ละเอียด แกร่ง  ในบางองค์..ได้ความหนึกนุ่มปนเข้ามาด้วย

โดย...นักเดินทางเข้าป่าและเล่าเรื่อง

ร.ต.อ.อภิชาติ ปัดภัย 
สงวนสิทธิ์ ๒๕๖๑
apichatimm@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น