พระลีลาเม็ดขนุน กรุบ้านเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร
...นี่คือตำนานแห่งพระเครื่องเมืองไทย ด้วยบริบทลีลาก้าวย่างอันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ยุคสมัยก่อนเรียกว่า "ปางพระพุทธเจ้าเดินจงกรม" ก้าวสู่การเรียกว่า "ปางลีลา" ในสมัยยุคปัจจุบัน
องค์นี้พบในไหปะปนมากับพระซุ้มกอ จึงสันนิษฐานได้ว่า..น่าจะเป็นพระที่บรรจุให้เป็นพระประธานไห...
ตำนานแห่งการเดินทาง
- กรุบ้านเศรษฐี กรุพระที่พบเห็นน้อย และรู้จักน้อยมาก
- เนื้อเขียวมอย แบบคล้ายหิน
- อายุประมาณกว่า ๗๐๐ ปี
"ความแกร่งปรากฎดั่งหิน"
พระยอดขุนพลนาน้อย ฐานยามอุบากอง จังหวัดน่าน
ยามอุบากอง
คนโบราณในสมัยก่อน มีความเชื่อเรื่องฤกษ์ผานาทีอันและเป็นชัยยะมงคล ที่นำมาซึ่งความสำเร็จพูนผล ในการเดินทางหรือการประกอบกิจต่างๆ ฤกษ์ยามในสมัยก่อนจะถือฤกษ์ยามตามยันต์อุบากอง โดยใช้วันและเวลา เดินยามตามตารางที่ยันต์อุบากองกำหนดไว้ ยันต์อุบากองจะแบ่งแต่ละวัน ออกเป็นช่วงยามต่างๆ 10 ช่วงยาม ซึ่งรูปแบบของวันในสัปดาห์ จะมีการแบ่งยามออกเป็น ยามกลางวัน 5 ยาม ยามกลางคืน 5 ยาม เราจึงเรียกช่วงเวลายามนั้นจนติดปากว่า ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามบ่ายและยามเย็น สำหรับยามกลางคืนได้แบ่งช่วงยามออกเป็น หนึ่งยาม สองยาม สามยาม สี่ยาม และห้ายามเหตุผลที่คนโบราณแบ่งช่วงยามแทนเวลา เพราะถือเอาตามตำรา ฤกษ์ยามอุบากอง ซึ่งเป็นวิชาติดตัวมาจากเชลยศึกสงคราม ที่ถูกจับตัวได้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างถูกคุมขัง อุบากองได้สอนวิชายามยาตราแก่นักโทษพม่าในคุก ยามยาตรานี้ หากใช้ตามเวลาจะสมารถหลบลี้หนีภัยได้ ต่อมาอุากองได้สบจังหวะอันเป็นฤกษ์ดี สามารถหลบหนีจากคุกวัดโพธิ์ไปได้ นักโทษพม่าที่ไม่ได้หลบหนีไป จึงได้นำเรื่องราวยามยาตราไปบอกผู้คุมขัง จากนั้นจึงมีการนำตำรายามยาตรานี้มาเล่าเรียน เรียกชื่อกันว่า "ยามอุบากอง"
...ยอดขุนพลแห่งล้านนา ด้วยบริบท..พระเนื้อชินพิมพ์กลาง พระพักตร์ชัดลึก สนิมเงินตีนกา ผิวฝ้าจับ พอกทับด้วยปูนแบบโบราณเหลืองนวลงามจับใจ อัตลักษณ์...ประทับนั่งบนฐานยามอุบากอง ยามประจำตัวขุนศึกพม่า..ในตำนาน
ตำนานแห่งการเดินทาง
...ตำนานแห่งพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่รู้จักและพบเห็นน้อยมาก ด้วยบริบทแบบพระปางลีลาก้าวย่าง ขนาดใหญ่และแบนกว่าพระลีลาเม็ดขนุน พระพักตร์และสัดส่วนองค์พระยาวใหญ่ ประทับบนฐานเขียง รองรับอีกชั้นด้วยฐานกลีบบัว องค์พระโดยรวมเป็นวงรีแบนกว้างคล้ายดั่งกลีบดอกการะเวก อันเป็นอัตลักษณ์และที่มาของชื่อพระ "กลีบการะเวก"
องค์นี้..พบในไหดินเผาโบราณ ซึ่งภายในบรรจุพระซุ้มกอทั้งหมด ยังไม่สามารถระบุกรุพระได้ แต่พบพระลีลากลีบการะเวกองค์นี้เพียงองค์เดียว จึงสันนิษฐานได้ว่า..น่าจะเป็นพระที่บรรจุให้เป็นพระประธานไห...ดูลึกลับ มีน้อยมาก นักสะสมพระปัจจุบันไม่ค่อยจะรู้จัก
ดอกการะเวก
เนื้อละลายตัวแบบลายวงตาไม้
พระปางลีลา คือรูปแบบพระพุทธเจ้าในปางอิริยาบถเยื้องพระบาทก้าวเดินไปข้างหน้า พระบาทขวาเยื้องอยู่ข้างหลัง พระหัตถ์ซ้ายจีบพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า(ไม่ใช่ติดพระอุระ) กลายเป็นต้นแบบของพระพุทธรูปปางลีลาสุโขทัยที่สวยงามในปัจจุบัน
พระลีลากลีบการะเวก กรุวัดอาวาสน้อย กำแพงเพชร
พระที่จะกลายเป็นตำนาน เนื่องจากค้นพบน้อยมาก พระลีลากลีบการะเวก กรุวัดอาวาสน้อย จะทำการชุบผิวพระด้วยยางไม้ ก่อนนำไปผ่านความร้อน องค์นี้ชุบด้วยยางไม้ (รัก) ที่ยังไม่ได้กรอง จึงปรากฎคราบยางไม้เป็นสีเทาดำ ไม่ใส แทรกด้วยคราบหินปูนตามกาลเวลา ขึ้นปกคลุมผิวองค์พระ จึงทำให้ผิวพระมีความแข็งและสากมือ คราบยางไม้ (รัก) บางองค์คราบหนา บางองค์คราบบาง
ตำนานแห่งการเดินทาง
- พบเห็นน้อย และรู้จักน้อยมาก แทบไม่พบเห็น
- อายุประมาณกว่า ๗๐๐ ปี
- พระคู่ใจของนักสะสมพระในยุคคลาสสิค
- ชุบด้วยยางไม้ (รัก) ชนิดที่ยังไม่ผ่านกระบวนการกรอง
"พระกำแพง เสน่ห์และความมหัศจรรย์ อยู่ที่เนื้อพระ สิ้นสุดที่เนื้อพระ"
พระซุ้มกอ พิมพ์ต้อล่ำ - เชียงแสน กรุวัดพิกุล กำแพงเพชร (อีกตำนานแห่งความสวยงาม มีพุทธศิลป์ที่สุดแห่งพระซุ้มกอ)
(องค์ที่ ๑) องค์คราบยางไม้ใสอำพัน
พระซุ้มกอ..อีกตำนานแห่งพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่โด่งดัง หนึ่งในชุดเบญจภาคีพระเครื่อง (เนื้อผง-ดิน) เมืองไทยในปัจจุบัน
องค์นี้..พบในกรุเจดีย์ราย วัด(หนอง)พิกุล นักเลงพระสมัยก่อนเรียกเป็นพิมพ์ต้อล่ำแบบเชียงแสน ซึ่งพบน้อยกว่าแบบพิมพ์ทรงลังกา มวลสารเนื้อผงดินแก่ว่าน องค์พระจึงมีความหนึกนุ่ม น้ำหนักเบา ชุบด้วยยางไม้ชนิดที่ผ่านกระบวนการกรอง ผิวพระจึงดูใส เห็นเนื้อใน ยางไม้ทนอุณหภูมิความร้อนสูง (ปัจจุบันเรียกว่า "รัก") แล้วนำไปเผาแบบควบคุมอุณหภูมิ สีผิวจึงดูสม่ำเสมอ บ่งบอกถึงความรู้ด้านการผสมมวลสารและขั้นตอนฝีมือการสร้างพระด้วยเชิงช่างชั้นสูง อันเป็นอัตลักษณ์ของกรรมวิธีการสร้างพระเฉพาะของภูมิปัญญาช่างชั้นครูแห่งเมืองกำแพงเพชร องค์พระจึงดูมีความสดใส แบบผิวสีอำพัน และมีความคงทนสูง
พุทธลักษณะที่สวยงาม สมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง นวลดินสวยงาม
- พระพักตร์ อวบนูน อิ่มเอิบ องค์ประกอบสมบูรณ์
- พระขนง (คิ้ว) ปรากฏทั้งสองข้าง
- พระเนตรรียาว หัวแหลม หางงอน
- พระนาสิก (จมูก) ปรากฏไรๆ บางๆ
- พระโอษฐ์ (ริมฝีปาก) ปรากฎไรๆบางๆ ยิ้มเป็นธรรมชาติ
- พระกรรณ ส่วนบนสูงหนาคือส่วนใบหู ส่วนล่างปรากฏเรียวยาวบางๆเป็นติ่งหู ยาวจรดบ่า แบบลักษณะมหาบุรุษ (พระพุทธเจ้า)
- วรรณะสีสันสดใส ผิวสีอำพัน ชุบด้วยยางไม้ (รัก) ชนิดที่ผ่านกระบวนการกรอง
ตำนานแห่งการเดินทาง
- พิมพ์ทรงล่ำแบบเชียงแสน พบเห็นน้อยมาก
- ชุบเผาด้วยยางไม้ ("รัก") ผิวสีอำพัน สวยงาม
- กรุไหดินเผา เจดีย์ราย วัดพิกุล
- อายุประมาณกว่า ๗๐๐ ปี
(องค์ที่ ๒) องค์คราบยางไม้สีดำ
องค์นี้..สีซีดและแห้งผาก มีชั้นผิวหลายชั้น ชั้นบนสุดเป็นคราบยางไม้สีดำ (ยางไม้ไม่ผ่านการกรอง) ผิวหยาบ ความสมบูรณ์ด้อยเป็นรองลงมาจากองค์คราบยางไม้ใส เนื่องจากคุณภาพยางไม้ที่แตกต่างกัน แต่สภาพองค์พระมีความสมบูรณ์แบบพิมพ์เต็มสัดส่วน เม็ดแร่ดอกมะขามละลายสลายตัวเกือบหมด ด้านหลังปรากฏรอยยุบหดตัวลงเป็นร่อง ตามกาลเวลาหลายร้อยปี
คราบโดยรวม แห้งผาก เป็นคราบกรุปิดหรือกรุไหดินเผา เนื่องจากไม่ปรากฏผงฝุ่นดิน กรวดทรายมาเกาะจับผิว
ตำนานแห่งการเดินทาง
- พิมพ์ทรงล่ำแบบเชียงแสน พบเห็นน้อยมาก
- ชุบเผาด้วยยางไม้ ("รัก") สีดำ หยาบ
- กรุไหดินเผา เจดีย์ราย วัดพิกุล
- อายุประมาณกว่า ๗๐๐ ปี
(องค์ที่ ๓) องค์เนื้อเขียว คราบยางไม้เทาใส
องค์นี้..เนื้อแกร่ง ที่นิยมเรียกกันว่าเนื้อเขียว ผิวมีชั้นผิวหลายชั้น ชั้นบนสุดเป็นคราบยางไม้ที่ไม่ผ่านการกรอง สีเทาใส ความสมบูรณ์ด้อยเป็นรองลงมาจากองค์คราบยางไม้ใส เนื่องจากคุณภาพยางไม้ที่แตกต่างกัน แต่สภาพองค์พระมีความสมบูรณ์แบบพิมพ์เต็มสัดส่วน เม็ดแร่ดอกมะขามละลายสลายตัวเกือบหมด ด้านหลังปรากฏรอยยุบ หดตัวลงเป็นร่อง ตามกาลเวลาหลายร้อยปี
คราบโดยรวม แห้งผาก เป็นคราบกรุปิดหรือกรุไหดินเผา เนื่องจากไม่ปรากฏผงฝุ่นดิน กรวดทรายมาเกาะจับผิว ภาพรวมเช่นเดียวกับองค์ที่สอง
ตำนานแห่งการเดินทาง
- พิมพ์ทรงล่ำแบบเชียงแสน พบเห็นน้อยมาก
- ชุบเผาด้วยยางไม้ ("รัก") ผิวสีเทาใส
- กรุไหดินเผา เจดีย์ราย วัดพิกุล
- อายุประมาณกว่า ๗๐๐ ปี
เท่าที่รวบรวมหามาได้ต่างครั้ง ต่างสถานที่ ตอนนี้ผมพบแค่ ๓ องค์นี้เท่านั้น
"มีกู ไม่จน" ตำนานที่เล่าขาน
พระซุ้มกอ..องค์หนึ่งที่เป็นตำนาน มีการแลกเปลี่ยนเช่าบูชากันตามข่าวราคา ๔๐ ล้าน ก็เป็นพระซุ้มกอกรุวัดฤษี แห่งเมืองกำแพงเพชร
องค์นี้มวลสารเนื้อผงดินแก่ว่านแบบผสมมวลสารแล้วได้เป็นเนื้อสีน้ำตาล ชุบด้วยยางไม้ที่ทนอุณหภูมิความร้อนสูง (ปัจจุบันเรียกว่า "รัก") แล้วนำไปเผาที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อรักษามวลสารว่านไม่ให้ไหม้หรือสลายตัว ความรู้ด้านการผสมมวลสารและขั้นตอนฝีมือการสร้างพระด้วยเชิงช่างชั้นสูง อันเป็นอัตลักษณ์ของกรรมวิธีการสร้างพระเฉพาะของภูมิปัญญาช่างชั้นครูแห่งเมืองกำแพงเพชร
อัตลักษณ์พระซุ้มกอองค์นี้ น้ำหนักเบาจากมวลสารแก่ว่านแต่แกร่งตามอายุกาล มวลสารเนื้อในสีน้ำตาล มีผิวที่ใสจากยางไม้ จึงสะท้อนเฉดสีน้ำตาลปนดำออกมา ดูแวววาวดุจอัญมณี จึงตั้งชื่อว่า "องค์อัญมณีดำ"
ตำนานแห่งการเดินทาง
- มวลสารแก่ว่าน สีน้ำตาล
- ชุบเผาด้วยยางไม้ ("รัก") ผิวใสเห็นเนื้อในสวยงาม
- อายุประมาณกว่า ๗๐๐ ปี
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก กรุวัดพิกุล เมืองกำแพงเพชร
พระซุ้มกอ..พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก ค้นพบส่วนใหญ่ในกรุวัดพระบรมธาตุ ฝั่งนคร(พระ)ชุม เมืองกำแพงเพชร
ส่วนองค์นี้ เป็นกรุวัดพิกุล พิมพ์ทรงเชียงแสน มวลสารเนื้อดินผสมว่าน แบบแก่มวลดิน ชุบด้วยยางไม้แบบบางๆ (ปัจจุบันเรียกว่า "รัก") แล้วนำไปเผาที่อุณหภูมิต่ำ แบบเผาดินดิบ หรือแทบจะไม่โดนไฟเลย
อัตลักษณ์พระซุ้มกอองค์นี้ มวลสารเนื้อในแบบดินดิบ สีดำออกเขียวเข้ม มีผิวที่ใสจากยางไม้ ทำหน้าที่กรองแสงสีเขียวให้สะท้อนออกมา แคลไซด์ที่ละลายออกมาสะสมที่ผิว ยิ่งปัดผิวยิ่งมัน ดูแวววาวดุจอัญมณี จึงตั้งชื่อว่า "องค์อัญมณีเขียว"
ตำนานแห่งการเดินทาง
- มวลสารแบบดินดิบ สีดำออกเขียวเข้ม ผิวใส
- ฝ่าพระหัตถ์พุทธศิลป์แบบอุ้มบาตร
- ชุบเผาด้วยยางไม้ ("รัก") แบบบางๆ ปนผิวแคลไซด์แบบมันวาว
- อายุประมาณกว่า ๗๐๐ ปี
"เปรียบดั่งการสะสมบารมีและความเข้มขรึม"
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก กรุวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร
พระซุ้มกอ..พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก ค้นพบและกลายเป็นเอกลักษณ์แบบพระพิมพ์ส่วนหนึ่งของกรุวัดพระบรมธาตุ ฝั่งนคร(พระ)ชุม แห่งเมืองกำแพงเพชร
องค์นี้มวลสารเนื้อดินแกร่งแบบเนื้อหิน ด้านหลังปรากฎการยุบตัวเป็นร่องแบบลายกาบหมาก ปรากฎแร่ใยหินคล้ายแบบหินเขี้ยวหนุมานรูปร่างแบบแฉกดาว เกาะซ่อมแซมผิว
ตำนานแห่งการเดินทาง
- มวลสารแกร่งแบบหิน ซ่อมแซมผิวด้วยแร่หินเขี้ยวหนุมาน
- ฝ่าพระหัตถ์ แบบอุ้มเปิดฝาบาตร
- อายุประมาณกว่า ๗๐๐ ปี
"เคร่งขรึม แกร่งดุจหิน"
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีลายกนก กรุวัดป่ามืด เมืองกำแพงเพชร
พระซุ้มกอ กรุวัดป่ามืดองค์นี้ มีอัตลักษณ์ไม่เหมือนกรุใดๆ จากการชุบด้วยยางไม้ (รัก) ออกวรรณะสีแดงอมน้ำตาล องค์พระมีความแกร่งจากเนื้อใน และมีความคงทนสูง จากการชุบด้วยยางไม้
ตำนานแห่งการเดินทาง
- มวลสารแกร่งใน นุ่มนอกจากยางไม้
- มีความคงทนสูงมาก
- อายุประมาณกว่า ๗๐๐ ปี
"แกร่งแน่น แดงสะดุดตา"
- มวลสารแกร่งใน นุ่มนอกจากยางไม้
- มีความคงทนสูงมาก
- อายุประมาณกว่า ๗๐๐ ปี
"แกร่งแน่น แดงสะดุดตา"
พระนางพญา พิมพ์อกนูนใหญ่ (ไม่ตัดปีก) วัดนางพญา เมืองพิษณุโลก
ปกติจะพบแต่พระนางพญาที่ตัดขอบเป็นรูปสามเหลี่ยม อันเป็นเอกลักษณ์ที่รู้จักและคุ้นเคยกันดี
องค์นี้ เป็นพิมพ์พิเศษมี "ผ้าสังฆาฏิบนไหล่ข้างขวา" อีกข้าง รวมเป็นผ้าสังฆาฏิสองข้าง คล้ายๆกับการครองผ้าของพระญี่ปุ่น
พิมพ์พระโดยรวมเป็นพิมพ์อกนูนใหญ่ ไม่ตัดขอบ (ไม่ตัดปีก) ปรากฏรอยหยิบพระ สองมุมด้านบนข้างองค์พระ ร่องรอยความเหี่ยวย่น ปรากฏคราบรารัก รอยผิวดินปีนเม็ดกรวด เนื่องจากการหดยุบตัวของมวลดินซึ่งอ่อนกว่าเม็ดกรวด
พิมพ์พระโดยรวมเป็นพิมพ์อกนูนใหญ่ ไม่ตัดขอบ (ไม่ตัดปีก) ปรากฏรอยหยิบพระ สองมุมด้านบนข้างองค์พระ ร่องรอยความเหี่ยวย่น ปรากฏคราบรารัก รอยผิวดินปีนเม็ดกรวด เนื่องจากการหดยุบตัวของมวลดินซึ่งอ่อนกว่าเม็ดกรวด
ความเหี่ยวย่น
แร่เม็ดกรวดลอย สีแดงอำพันแบบอัญมณีดิบ
ตำนานแห่งการเดินทาง
- พิมพ์ไม่ตัดขอบ (ไม่ตัดปีก)
- สังฆาฏิ..ขวา
- อายุประมาณกว่า ๕๐๐ ปี
ความรีบเร่งกับการศึก "การศึกครั้งนี้ ช่างใหญ่หลวงเสียยิ่งนัก"
พระพิมพ์นางพญา พิมพ์เล็ก หลังตราแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา เมืองสองแคว พิษณุโลก
พระพิม์แบบพระนางพญาองค์นี้ ปรากฎรอยประทับตราจักร ประทับจมลึกเข้าไปในเนื้อในด้านหลัง ตราจักร..มีมาตั้งแต่ครั้นสมัยกรุงสุโขทัย ตีประทับใช้ในเงิดพดด้วง สืบทอดมาถึงยุคกรุงศรีอยุธยา ได้นำสืบมาเป็นตราแผ่นดิน
ด้วยเนื้อหา ที่ยุบย่นด้านข้าง ความแกร่ง ฉ่ำ เม็ดแร่ดำ ประกอบรารักดำแทรกลึก บ่งบอกอายุกาลได้เป็นอย่างดี
ด้วยเนื้อหา ที่ยุบย่นด้านข้าง ความแกร่ง ฉ่ำ เม็ดแร่ดำ ประกอบรารักดำแทรกลึก บ่งบอกอายุกาลได้เป็นอย่างดี
ตำนานแห่งการเดินทาง
"สืบอายุกาล เล่าขานเรื่องราว แห่งโยเดียนคร"
โดย...นักเดินทางเข้าป่าและเล่าเรื่อง
ร.ต.อ.อภิชาติ ปัดภัย
สงวนสิทธิ์ ๒๕๖๑
apichatimm@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น