พงไพร ผีป่า นางไม้

พงไพร ผีป่า นางไม้

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

หนึ่งในตำนานแห่งความนิรันตราย พระหลวงปู่ทวด พิมพ์เตารีด เนื้อว่าน ปี ๒๔๙๗


    ปฐมบท...แห่งนักสะสม นักนิยมหรือผู้ศรัทธาในพระเครื่อง ไม่มีใครที่จะไม่รู้จัก "หลวงปู่ทวด" แห่งวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ซึ่งรู้จักกันดีในนาม ""หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด" กับรูปแบบพิมพ์ทรงที่เห็นแล้วต้องรู้จักในทันทีทันใดว่านี้คือ หลวงปู่ทวด นั้นคือ....รูปแบบพิมพ์ทรงสามเหลี่ยมคล้ายเตารีด..
    พระเครื่องหลวงปู่ทวด จัดได้ว่าเป็นพระเครื่องประเภทแรก ที่ชักนำให้กระผม..ผู้เขียน หันมาศรัทธาและเริ่มแสวงหาและศึกษาพระเครื่อง ปฐมเหตุแห่งการรู้จักพระ..หลวงปู่ทวด เนื่องจากการตีพิมพ์เกี่ยวกับประสบการณ์ต่างๆของผู้ที่ห้อยพระหลวงปู่ทวด ไม่ว่าจะในหน้าหนังสือพิมพ์ ในนิตยสารพระหรือนิตยสารต่างๆ และก็..จากการที่มาสะดุดกับคำว่า "เหยียบน้ำทะเลจืด"....

หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน พิมพ์เตารีดใหญ่ ไหล่จุด หัวมีขีด 

ปี ๒๔๙๗


   พระเครื่องหลวงปู่ทวด แห่งวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี นับว่าเป็นพระพิม์รูปเคารพบูชาแบบพระสงฆ์เพียงรูปเดียว ที่พิมพ์รูปออกมาโดยมีฐานบัวรองรับ ซึ่งปกติแล้ว ดอกบัวหรือฐานบัวจะใช้สำหรับรูปเคารพหรือปฏิมากรรมเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าเท่านั้น จึงเป็นตำนานที่กล่าวกันว่า "หลวงปู่ทวด" ในภายภาคหน้า ท่านคือ พระศรีอาริยเมตไตรย หรือพระศรีอาริย์ พระพุทธเจ้า องค์ที่ ๕ ที่จะเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ในภัทรกัปนี้ ต่อจาก พระโคตมะ พระสมณโคดม (เจ้าชายสิทธัตถะ) พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ ในปัจจุบันของภัทรกัปปัจจุบันนี้ 
    เมื่อพระศรีอาริย์ ได้เสด็จลงมาโปรดยังโลกมนุษย์ จะได้ประทับรอยพระพุทธบาทบาทซ้อนทับไว้อีกรอย ที่ "พระพุทธบาทสี่รอย " อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลายเป็นรอยที่ ๕ แล้วพระพุทธบาทนั้นจะหลอมรวมกันเป็นหนึ่ง ภายใต้โลกใหม่แห่งพระศรีอาริยเมตไตรยหรือโลกพระศรีอาริย์...

พระพุทธบาทสี่รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่


อัตลักษณ์


   หลวงปู่ทวด ปี ๒๔๙๗ มวลสสารแบบเนื้อว่านผสมดินกากยายักษ์หรือดินถ้ำมูลค้างคาว พร้อมมวลสารอื่นๆเช่น..กล้วย... สำหรับองค์นี้มีไขว่านผุดเป็นจุดๆ และแผ่คลุมองค์พระ จนแทบจะมองไม่เห็นสีเนื้อในองค์พระ ซึ่งเป็นสีเทาอมดำ


คราบไขผุดและวรรณะมวลสสาร

  
 สำหรับไขที่ผุดขึ้นบนผิวพระ จะมีทั้งไขใหม่แบบสีขาวนวลและไขเก่าแบบสีน้ำตาลแกมเหลือง ซึ่งจะต้องผุดออกมาจากเนื้อข้างในองค์พระ

ตำหนิเนื้อเกิน


    ตำหนิรอยเนื้อเกินบนบ่าด้านซ้ายแบบกลุ่มเป็นจุด และรอยเนื้อเกินขางศรีษะด้านซ้ายแบบขีด เป็นที่มาของชื่อพิมพ์ "ใหล่จุด หัวมีขีด"

ด้านหลัง


   ด้านหลังฝังแร่ชนิดหนึ่ง มีสีทองเหลือบใส สะท้อนแสงวับวาว ปัจจุบันเชื่อว่าแร่ชนิดนี้คงหายาก หรือไม่มีแล้ว จึงเป็นการยากที่จะเสาะหา แล้วนำมาฝังหรือโรยในการพิมพ์พระหลวงปู่ทวดในปัจจุบัน

แร่ทองใส



ภาพรวมองค์พระ รวมขอบแม่พิมพ์องค์พระ



  รอยซึ่งเป็นรูเหลี่ยมแคบใต้องค์พระ เป็นรอยการนำพระออกจากแม่พิมพ์ เมื่อมวลสสารเกิดการหดตัวและเกิดมวลสสารงอกทับซ้ำใหม่ จึงทำให้รู..ดูแคบลง จนเกือบจะปิดทึบ....





หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ๒๔๙๗ พิมพ์ใหญ่ เอ



  พระเครื่องหลวงปู่ทวด เป็นมงคลในทุกๆด้าน นิรันตรายก็เป็นเอก แต่การที่หาได้พบองค์จริงนั้น เป็นเรื่องสุดลึก..เช่นเดียวกับตำนานหลวงปู่ทวด ท่านยังปรากฏเพียงแค่ตำนาน
  กระผม..ผู้เขียนจึงพอที่รวบรวมลักษณะสำคัญของพระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ เอ พอสังเขปได้ดังนี้ (แต่อย่างไรก็ตาม...เนื้อหา สำคัญที่สุดและยากที่ถ่ายรูปให้เห็นชัดเจนได้)

ลักษณะสำคัญ ด้านหน้า













ลักษณะสำคัญ ด้านหลัง



ลักษณะสำคัญ รูถอดพระ



 "ดูพิมพ์..ให้ดูได้ แต่ดูเนื้อ...ให้ดูเป็น"
   ลักษณะสำคัญที่สุดของพระคือ เนื้อ...ไม่ว่าจะเป็นพระบูชา พระเครื่องหรือพระพิมพ์ห้อยคอ        ..      "เนื้อเป็นเอก พิมพ์เป็นรอง"

เขียนและเล่าเรื่องโดย...ร.ต.ท.อภิชาติ ปัดภัย  (ชาติ เชียงราย) ..Knowledge are endless. "การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด" ขอชมองค์พระ ติดต่อ..apichatimm@gmail.com  (สงวนสิทธิ์บทความ ๒๕๖๑ - สนใจติดต่อผ่านอีเมล)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น