พระกำแพงซุ้มกอสีน้ำตาล พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก
"องค์ผิวคราบกรุเดิม"
พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ไม่มีกนก เท่าที่พบเห็นมา มีแต่พิมพ์ใหญ่ โดยการเปรียบเทียบขนาดกับพิมพ์ใหญ่แบบมีกนก หรือพิมพ์ที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่ากันบ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่หนีขนาดของพิมพ์ใหญ่
สันนิษฐานว่า พระพิมพ์ซุ้มกอ องค์ไม่มีกนก น่าจะเป็นต้นแบบแม่พิมพ์แรก ซึ่งมีขนาดเดียว หลังจากนั้นจึงได้ปรับแก้ไขแม่พิมพ์ให้มีลวดลายกนก เพิ่มความสวยงามยิ่งขึ้นและแตกแขนงขนาดแม่พิมพ์พระออกเป็นขนาดต่างๆ คือแม่พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์กลาง แม่พิมพ์เล็ก แม่พิมพ์จิ๋วและแม่พิมพ์ขนมเปี๊ยะ โดยมีมาตรฐานการเพิ่มลวดลายกนกเข้าไปด้วย
อัตลักษณ์
พระองค์นี้ยังคงอยู่ในสภาพที่ยังมีผิวคราบกรุเดิมๆ ที่ยังไม่ได้ถูกล้างออก และยังไม่ได้นำมาคล้องคอแขวนมาก่อน ผิวองค์พระจึงยังคงอยู่ในสภาพเดิม แห้งหมดพรายดินและสมบูรณ์มาก
มวลสสารยุบหดตัว - เม็ดแร่ผุด
มวลสารเนื้ออ่อน เช่น..ดิน เมื่อผ่านกาลเวลามาเป็นระยะเวลานานหลายร้อยปี รวมทั้งผ่านสภาพอุณหภูมิในกรุ จึงเกิดการหด ยุบตัวลง ทำให้เม็ดแร่ต่างๆที่ฝังอยู่ในองค์พระ ซึ่งมีความแข็งมากกว่าหรือเป็นมวลสารเนื้อแข็ง ไม่สามารถยุบ หดตัว ลงได้ หรือใช้ระยะเวลานานกว่ามาก จึงลอยโดดเด่น และตั้งอยู่ในสภาพที่อยู่เดิม แบบเม็ดแร่โผล่ มีตั้งแต่ขนาดจิ๋วมากถึงขนาดใหญ่
การยุบหดตัวส่วนก้นองค์พระ ทำให้เกิดเป็นแอ่งตรงกลาง คราบหินปูนสีเทาหม่น บางส่วนสีดำ เพราะมี..รา..มาเกาะกินความชื้น แล้วตายลงจนทิ้งคราบสีดำไว้
การละลายตัวและการประสานตัวของมวลสาร
(ด้านหลัง)
การละลายตัวของสสารทำให้เกิดการย่อยสลายเป็นสสารที่มีโมเลกุลเล็กลงแล้วรวมประสานกัน จึงทำให้มวลเนื้อพระดูละเอียด เมื่อความชื้นหมดไป พระจึงมีมวลเนื้อที่แกร่งขึ้น
การละลายตัวและการไหลมารวมประสานกัน จึงทำให้แนวร่อง แอ่ง ที่ปาดตัดมวลสาร มองไม่เห็นแนวขอบที่เป็นเหลี่ยม ดูกลมกลืน ไม่มีขอบและตื้นขึ้น
พระองค์นี้รายละเอียดมีไม่มาก จึงต้องพิจารณาจากคราบต่างๆ พบว่า...คราบหินปูนที่ละลายสลายออกมานำพาแร่เหล็กออกมาด้วย จึงปรากฏคราบหินปูนเป็นสีน้ำตาลเข้ม
เม็ดแร่จิ๋ว..ที่ไม่ได้ยุบตัวลงไปตามมวลสสารเนื้ออ่อน ดูคล้ายกับผุดขึ้นมาทั่วไปตามผิวองค์พระ หากมีปริมาณมากๆ จับลูบดู จะให้ความรู้สึกคล้ายลูบกระดาษทราย
ในรอยบิ่น..พระที่ผ่านกาลเวลามานานมากๆ จะมีการสะสมของคราบหินปูน เสมือนการซ่อมแซมผิว จึงมองไม่เห็นเนื้อผิวใน
การละลายตัวจากภายในและการรวมประสานตัวกันใหม่ จึงทำให้แนวร่อง แอ่ง ที่ปาดตัดมวลสารด้านหลัง มองไม่เห็นแนวขอบที่เป็นเหลี่ยม ดูกลมกลืน ไม่มีขอบและตื้นขึ้น
การสลายตัวและการประสานตัวกันของมวลสารหรือสสาร จะเห็นได้ชัดในบริเวณที่มีพื้นผิวที่เรียบตึง คือ ที่ด้านหลังองค์พระ จนดูเรียบเป็นเนื้อเดียวกัน ปรากฏลายความเข้มจาง ตามความหนาแน่นของมวลสสาร วรรณะออกเป็นสีส้มอมแดงปนน้ำตาล เนื่องจากแร่เหล็กในดินที่สลายและถูกนำพาออกมาด้วยและการสลายตัวของเม็ดแร่ จนไม่มีรูปทรงเป็นก้อน
รอยการปาดตัดองค์พระที่ด้านหลัง มองไม่เห็นแนวร่องที่ชัดเจนเนื่องจากการละลายหรือการสลายตัวของมวลสสาร
เขียนและเล่าเรื่องโดย...ร.ต.ท.อภิชาติ ปัดภัย (ชาติ เชียงราย) ..Knowledge are endless. "การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด" ขอชมองค์พระ ติดต่อ..apichatimm@gmail.com (สงวนสิทธิ์บทความ ๒๕๖๑ - สนใจติดต่อผ่านอีเมล)
การละลายตัวและการไหลมารวมประสานกัน จึงทำให้แนวร่อง แอ่ง ที่ปาดตัดมวลสาร มองไม่เห็นแนวขอบที่เป็นเหลี่ยม ดูกลมกลืน ไม่มีขอบและตื้นขึ้น
"ดูพิมพ์..ให้ดูได้ แต่ดูเนื้อ...ให้ดูเป็น"
พระกำแพงซุ้มกอสีน้ำตาล พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก
"องค์เนื้อละเอียด แกร่ง"
การละลายตัวของสสารทำให้เกิดการย่อยสลายเป็นสสารที่มีขนาดของโมเลกุลที่เล็กลงแล้วมารวมประสานกันด้วยความชื้น จึงทำให้มวลเนื้อพระดูละเอียดจากการละลายประสานกลายเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อความชื้นหมดไป พระจึงแห้งและมีมวลเนื้อที่แข็งแกร่งขึ้น แบบที่เรียกว่า "พระเนื้อละเอียด"อัตลักษณ์
พระองค์นี้รายละเอียดมีไม่มาก จึงต้องพิจารณาจากคราบต่างๆ พบว่า...คราบหินปูนที่ละลายสลายออกมานำพาแร่เหล็กออกมาด้วย จึงปรากฏคราบหินปูนเป็นสีน้ำตาลเข้ม
การผุดของเม็ดแร่จิ๋ว
เม็ดแร่จิ๋ว..ที่ไม่ได้ยุบตัวลงไปตามมวลสสารเนื้ออ่อน ดูคล้ายกับผุดขึ้นมาทั่วไปตามผิวองค์พระ หากมีปริมาณมากๆ จับลูบดู จะให้ความรู้สึกคล้ายลูบกระดาษทราย
การซ่อมแซมผิว
ในรอยบิ่น..พระที่ผ่านกาลเวลามานานมากๆ จะมีการสะสมของคราบหินปูน เสมือนการซ่อมแซมผิว จึงมองไม่เห็นเนื้อผิวใน
ตำหนิรวม
ด้านหลังองค์พระ
การละลายตัวจากภายในและการรวมประสานตัวกันใหม่ จึงทำให้แนวร่อง แอ่ง ที่ปาดตัดมวลสารด้านหลัง มองไม่เห็นแนวขอบที่เป็นเหลี่ยม ดูกลมกลืน ไม่มีขอบและตื้นขึ้น
พระกำแพงซุ้มกอสีน้ำตาล พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก
"องค์แก่ว่านมวลสาร"
มวลสารแก่ว่าน
มวลสารว่าน..ทำให้พรายดินและมวลสารดินสลายตัวเร็วขึ้น แล้วละลายออกมาเป็นคราบน้ำว่าน สะสมในชั้นบนผิวพระ กลบพรายดิน ทำให้เนื้อหาดูหนึกนุ่ม นวลตา แต่ก็ยังมีวรรณะออกเป็นสีส้มอมแดงปนน้ำตาล เนื่องจากแร่เหล็กในดินที่สลายและถูกนำพาออกมาด้วย
อัตลักษณ์
พระองค์นี้รายละเอียดมีไม่มาก จึงต้องพิจารณาแยกเป็นส่วนเป็นจุดๆไป อย่างแรกคือ...พิมพ์ทรงที่ลงตัวบึกบึน มีพระชงฆ์(แข้ง) ที่กลมกลึงเป็นท่อนสวยงาม
ความคมพิมพ์ขึ้นรูปชัดเจนของพระชงฆ์ (แข้ง) นับว่าเป็นจุดเด่นอีกจุดหนึ่ง รูปทรงกลมเหมือนกลึง เกิดจากการเวลาที่กัดกร่อนโดยสภาวะแวดล้อมและการสลายตัวของมวลสาร จนรูปทรงที่เป็นเหลี่ยมเป็นมุมเป็นสัน ละลายรวมกันจนดูกลมกลึง
ความคมพิมพ์ขึ้นรูปชัดเจนของพระชงฆ์ (แข้ง) นับว่าเป็นจุดเด่นอีกจุดหนึ่ง รูปทรงกลมเหมือนกลึง เกิดจากการเวลาที่กัดกร่อนโดยสภาวะแวดล้อมและการสลายตัวของมวลสาร จนรูปทรงที่เป็นเหลี่ยมเป็นมุมเป็นสัน ละลายรวมกันจนดูกลมกลึง
การสลายและการประสานตัวของมวลสาร (สสาร)
การสลายตัวและการประสานตัวกันของมวลสารหรือสสาร จะเห็นได้ชัดในบริเวณที่มีพื้นผิวที่เรียบตึง คือ ที่ด้านหลังองค์พระ จนดูเรียบเป็นเนื้อเดียวกัน ปรากฏลายความเข้มจาง ตามความหนาแน่นของมวลสสาร วรรณะออกเป็นสีส้มอมแดงปนน้ำตาล เนื่องจากแร่เหล็กในดินที่สลายและถูกนำพาออกมาด้วยและการสลายตัวของเม็ดแร่ จนไม่มีรูปทรงเป็นก้อน
รอยการปาดตัดองค์พระที่ด้านหลัง มองไม่เห็นแนวร่องที่ชัดเจนเนื่องจากการละลายหรือการสลายตัวของมวลสสาร
ก้อนเม็ดแร่ นวลฉ่ำ
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเม็ดแร่ที่ใสดุจแก้ว เป็นเม็ดแร่ใสนวลขุ่น ลื่นสัมผัสแล้วนุ่มนวล พร้อมช่องห่างของเม็ดแร่ เม็ดแร่ก้อนนี้ประดุจจะหลุดหล่นล่วงออกมา แต่ถูกมวลสสารที่ยุบหดตัว ดึงรั้น หน่วงเอาไว้ เป็นจุดเด่นที่มีเสน่ห์อีกจุดๆหนึ่ง
"ดูพิมพ์..ให้ดูได้ แต่ดูเนื้อ...ให้ดูเป็น"
เขียนและเล่าเรื่องโดย...ร.ต.ท.อภิชาติ ปัดภัย (ชาติ เชียงราย) ..Knowledge are endless. "การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด" ขอชมองค์พระ ติดต่อ..apichatimm@gmail.com (สงวนสิทธิ์บทความ ๒๕๖๑ - สนใจติดต่อผ่านอีเมล)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น