"สมเด็จบาง นางหนา ท่านว่าไว้ พระรอดนุ่มหนึกใน คล้ายสีผึ้ง ผงสุพรรณดินกรองต้องตราตรึง ซุ้มกอซึ้ง แร่มะขาม งามจับใจ"
เมื่อรวบรวมตำนานการสร้างพระเครื่องแห่งองค์พระฤษี ในเขตตำบลเมืองพิษณุโลกถึงเขตตำบลเมืองสุพรรณบุรี แล้ว พอจะทราบความได้ว่า....
"ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิชัยสงคราม เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ มีฤษี ๑๑ ตน ฤษีเป็นใหญ่ ๓ ตน ตนหนึ่งฤษีพิราไลย์ ตนหนึ่งฤษีตาไฟ และ ฤษีตาวัว เป็นประธานแก่หมู่ฤษีทั้งหลายทั้งหมด จึงปรึกษากันว่า เราท่านทั้งหลายนี้จะเอาอันใดไปให้แก่ พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤษีทั้งสามจึงว่าแก่ฤษีทั้งปวง...ว่า...เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้นี้ ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัดอุทุมพร เป็นมฤตพฤทธิ์ อายุวัฒนะ พวกฤษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวน้อยใหญ่ เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์เจ้า ไปถ้วน ๕,๐๐๐ พรรษา ฤษีตนหนึ่งจึงว่าแก่ฤษีทั้งปวง...ว่า...ท่านจงไปเอาว่านทั้งหลาย อันมีฤทธิ์ เอามาให้ได้หนึ่งพัน แล้วเก็บเอาเกสรไม้อันวิเศษ ที่มีกฤษณาเป็นอาทิ ให้ได้หนึ่งพัน ครั้นเสร็จแล้ว ฤษีก็ป่าวร้องเทวดาทั้งปวง ให้ช่วยกันบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัดสถานหนึ่ง ฤษีทั้ง ๓ ตนนั้น จึงบังคับแก่ฤษีทั้งปวง ให้เอาว่านทำเป็นผงเป็นก้อน ประดิษฐานด้วยมนต์คาถาทั้งปวง ให้ประสิทธิทุกอัน จึงให้ฤษีทั้งนั้นเอาเกสรและว่านมาประสมกัน ตีให้เป็นพระ ให้ประสิทธิ์แล้ว ด้วยนวหรคุณ ประดิษฐานไว้บนเจดีย์อันหนึ่ง ถ้าผู้ใดให้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด......ให้รฤกถึงคุณฤษีที่ทำไว้นั้นเถิด มีกูไว้ไม่จน...."
ตามตำนานเรื่องเล่าแห่งองค์พระฤษี...กล่าวไว้ว่า...ฤษี..บางทีเรียกว่า.. ฤษิต หรือ นักษิตวิทยาธร คือผู้แสวง ผู้บำเพ็ญตบะ ผู้อำนาจจิต บางตำนานเรียกว่า วรรณปรัช หรือ ผู้อยู่ป่า มักจะรู้จักกันดีในภาพของการครองห่มด้วยผ้าลายหนังเสือ แต่..ปกติเมื่อองค์ฤษี เมื่ออยู่อาศรมจะนุ่งห่มชุดขาว ถ้าบริกรรมบำเพ็ญตบะ จะนุ่งห่มด้วยชุดคาครองหรือนุ่มห่มด้วยต้นหญ้า ต้นคาแต่ถ้าจะออกงานพิธีการต่างๆ จะนุ่งห่มด้วยชุดลายหนังเสือ
ลักษณะความเป็นอยู่ของฤษีทั่วไป บริโภคผัก ผลไม้ เผือกมันเป็นอาหาร มุ่งแต่บำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างเดียว บางตำนานแบ่งฤษี ไว้เป็น ๘ จำพวกด้วยกัน คือ...
๑.สกุตตะภริยา คือ ฤษีที่รวบรวมทรัพย์ไว้บริโภค
เหมือนกับคนมีครอบครัว
๒.อุนฉาจริยา คือ ฤษีที่รวบรวมข้าวเปลือกและถั่วงา
เป็นต้น ไว้หุงต้มกิน
๓.อนัตคิ ปัจขิกา คือ ฤษีที่รับเฉพาะข้าวสารไว้หุงต้มกิน
๔.อาสามะปักกา คือ ฤษีที่รับเฉพาะอาหารสำเร็จ ไม่หุง
ต้มกินเอง
๕.อสมมุติกา คือ ฤษีที่ใช้ก้อนหินทุบเปลือกไม้บริโภค
๖.ทันตวัคกริกา คือ ฤษีที่ใช้ฟันแทะเปลือกไม้บริโภค
๗.ปวัตตะพละโภชนา คือ ฤษีที่บริโภคผลไม้
๘.ปันทุปะลาสิกะ คือ ฤษีที่บริโภคผลไม้ หรือใบไม้เหลืองที่หล่นเอง
พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง
ประวัติ พระฤษีตาวัว
ท่าน..เดิมทีเป็นพระสงฆ์ ตาบอดทั้งสองข้าง ชอบเล่นแร่แปรธาตุ จนสามารถทำให้ปรอทแข็งได้ แต่ว่ายังไม่ทันได้ใช้ให้เกิดประโยชน์อะไร ก็ทำปรอทนั้นตกหล่นไปในฐาน (ส้วม) จะหยิบคืนมาก็ไม่ได้ เพราะตามองไม่เห็น จึงเก็บเงียบไว้ ไม่กล้าบอกใคร จนกระทั่งวันหนึ่ง มีลูกศิษย์มาเข้าใช้ฐาน ก็สังเกตเห็นแสงเรืองๆ จมอยู่ใต้ ในฐาน ก็กลับมาเล่าให้อาจารย์ฟัง อาจารย์ก็ดีใจ จึงให้ศิษย์พาไป ถ้าเห็นแสงเรืองตรงไหน ก็ให้จับมือจุ่มลงไปตรงนั้น จะเลอะเทอะยังไงก็ช่างมัน ศิษย์จึงทำตาม พระอาจารย์จึงควักเอาปรอทกลับคืนมาได้ จัดแจงล้างทำความสะอาด แล้วแช่เอาไว้ในโถน้ำผึ้งที่ใช้ฉัน ไม่นำติดตัวไปไหนอีก
จนกระทั่งวันหนึ่ง พระอาจารย์จึึงมานั่งรำพึงถึงสังขาร ว่า เราจะมานั่งตาบอดอยู่ทำไม มีของดีของวิเศษอย่างนี้แล้ว น่าจะลองดู จึงให้ลูกศิษย์ไปหาศพคนตายใหม่ๆ เพื่อจะควักเอาลูกตามา แต่ว่าลูกศิษย์หาศพใหม่ๆไม่ได้ พบวัวนอนตายใหม่ๆอยู่ตัวหนึ่ง เห็นว่าน่าจะดี จึงควักลูกตาวัวไปให้พระอาจารย์แทน พระอาจารย์จึงนำปรอทที่แช่น้ำผึ้งไว้ มาคลึงที่ตา ควักเอาตาที่เสียออก เอาตาวัวใส่เข้าไปแทน แล้วก็เอาปรอทอาคมนั้นคลึงตามหนังตา ไม่ช้า ตาทั้งสองข้างก็กลับเห็นดี เป็นธรรมดา พระอาจารย์จึงสึกจากพระ เข้าถือเพศเป็น..ฤษี จึงเรียกกันว่า....ฤษีตาวัว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา...
ฤษีตาวัวและฤษีตาไฟและเมืองศรีเทพ
ฤษีทั้งสอง เป็นเพื่อนเกลอกัน รักกันมาก มีอะไรก็บอกกัน ไม่มีปิดบัง ทั้งสองสร้างอาศรมอยู่ใกล้กัน บนเขาใกล้เมืองศรีเทพ วันหนึ่งองค์ฤษีตาไฟได้เล่าให้ศิษย์ฟังว่า น้ำในบ่อสองบ่อที่อยู่ใกล้กันนั้น มีฤทธิ์อำนาจไม่เหมือนกัน น้ำในบ่อหนึ่ง เมื่อใครเอามาอาบก็จะตาย แต่ถ้าเอาน้ำอีกบ่อขึ้นมารด ก็จะฟื้นคืนมาได้เอง เรียกว่า...บ่อเป็น บ่อตาย
ศิษย์ก็ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ องค์ฤษีตาไฟจึงบอกว่าจะทดลองให้ดูก็ได้ แต่ถ้าตัวตายแล้วต้องสัญญาว่า ต้องเอาน้ำอีกบ่อหนึ่งมารดให้ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาใหม่ ศิษย์ก็รับคำ องค์ฤษีตาไฟก็เอาน้ำในบ่อตายมาอาบ ฤษีตาไฟก็ตายไปจริงๆ ลูกศิษย์เห็นดังนั้นแทนที่จะทำตามสัญญา กลับกลัวแล้ววิ่งหนีเข้าเมืองไปในเมืองศรีเทพเสีย..
ฝ่ายฤษีตาวัว ซึ่งเคยไปมาหาสู่ฤษีตาไฟเพื่อนเกลออยู่เป็นประจำ เมื่อเห็นฤษีตาไฟหายไปผิดสังเกตอย่างนั้นก็ช่างสงสัย จึงออกจากอาศรมเที่ยวตามหา เมื่อเดินผ่านบ่อน้ำตาย ก็เห็นน้ำในบ่อเดือด ก็รู้ได้ว่าเกิดเหตุร้ายขึ้นแล้ว จึงตามหาจนพบศพของฤษีตาไฟ ฤษีตาวัวจึงได้ตักน้ำบ่อเป็นขึ้นมารด ฤษีตาไฟจึงได้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฤษีตาวัวฟัง แล้วว่าจะต้องแก้แค้นศิษย์ซึ่งเป็นลูกเจ้าเมือง ตลอดจนประชาชนพลเมืองทั้งหมดในเมืองศรีเทพอีกด้วย ฤษีตาวัวก็ปลอบว่า อย่าให้มันรุนแรงถึงขั้นนั้นเลย แต่ฤษีตาไฟก็ไม่เชื่อฟัง ได้เนรมิตวัวตัวใหญ่ขึ้นมาตัวหนึ่ง เป็นวัวกายสิทธิ์ เอาพิษร้ายบรรจุเข้าไปในท้องวัวจนเต็ม จึงปล่อยวัวกายสิทธิ์ตัวนั้นให้เดินขู่คำราม ด้วยเสียงกึกก้องรบกวนรอบเมืองทั้งกลางวันกลางคืน เข้าเมืองไม่ได้ เพราะทหารรักษาประตูเมือง ปิดประตูเมืองเอาไว้
จนกระทั่งถึงวันที่เจ็ด เจ้าเมืองเห็นว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น จึงสั่งให้ทำการเปิดประตูเมือง วัวกายสิทธิ์ที่คอยทีอยู่ก่อนแล้ว จึงได้กรุยวิ่งเข้าไปในเมือง ทันทีที่เข้าไปในเมืองท้องวัวก็ระเบิดออก พิษจึงได้กระจายพุ่งออกมา ทำให้พลเมืองล้มตายกันหมด เมืองศรีเทพ จึงได้เป็นเมืองร้างมาตั้งแต่บัดครั้งนั้น..
ตำนานการสร้างพระพิมพ์ด้วยมนตราและพระคาถาแห่งองค์หมู่พระฤษี โดยการนำของพระฤษีทั้งสามตน พระฤษีพิมพิลาไลย์ พระฤษีตาไฟ และ พระฤษีตาวัว....
พระพิมพ์ต่างๆที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับพิธีการสร้างแห่งองค์พระฤษี..เช่น พระรอด จังหวัดลำพูน พระพิมพ์ซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชร พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี พระยอดขุนพลท่ากระดาน จังหวัดกาญจนบุรี....เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นที่แสวงหาของผู้คน และผู้ที่นิยมสะสมพระเครื่อง...
ตำนานการสร้างพระพิมพ์ด้วยมนตราและพระคาถาแห่งองค์หมู่พระฤษี โดยการนำของพระฤษีทั้งสามตน พระฤษีพิมพิลาไลย์ พระฤษีตาไฟ และ พระฤษีตาวัว....
พระพิมพ์ต่างๆที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับพิธีการสร้างแห่งองค์พระฤษี..เช่น พระรอด จังหวัดลำพูน พระพิมพ์ซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชร พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี พระยอดขุนพลท่ากระดาน จังหวัดกาญจนบุรี....เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นที่แสวงหาของผู้คน และผู้ที่นิยมสะสมพระเครื่อง...
พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง กำแพงเพชร
อีกหนึ่ง...พระรอดเนื้อดินเผา..พ่วงขานตำนานพระรอด พุทธศิลป์แบบโพธิ์ตุ่ม ไม่ทราบกรุ แต่จากผิวคราบและเนื้อในองค์พระ ที่เริ่มจะแปรสภาพโครงสร้างคล้ายแบบหินอัคนีแบบเนื้อในสีเขียวเข้ม ผิวสนิมไขสีเหลือง จึงน่าจะประมาณการอายุของพระ ซึ่งน่าจะมีความเก่าแก่ตามหลักตรรกกะ..พอสมควร
พระท่ากระดาน จังหวัดกาญจนบุรี โด่งดังมาตั้งแต่ครั้งอดีต บวกกับสนิมแดงที่เริ่มจับเกาะที่พระเนตร จนได้รับฉายาว่า."พระยอดขุนพลตาแดง แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง"
พุทธศิลป์แบบอู่ทอง ประทับนั่งแบบปางมารวิชัยบนฐานแบบสำเภา สร้างด้วยเนื้อตะกั่ว อายุกาล ประมาณกว่า ๗๐๐ ปี
"สมเด็จบาง นางหนา ท่านว่าไว้ พระรอดนุ่มหนึกใน คล้ายสีผึ้ง ผงสุพรรณดินกรองต้องตราตรึง ซุ้มกอซึ้ง แร่มะขาม งามจับใจ"
พระรอด.. วัดดอนแก้ว วัดโบราณเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองลำพูน พระนางเจ้าจามเทวี ได้สถาปนามาตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๒๒๓ เป็นหนึ่งในสี่ของวัดจตุรปราการ หรือวัดประจำมุงเมืองทั้งสี่ทิศ โดยวัดดอนแก้วนั้นเป็นวัดประจำด้านทอีกหนึ่งในตำนานแห่งการสร้างโดยพระฤษี ที่มีนามว่า "ฤษี นารอด"
เอกลักษณ์... ปีกข้างบางๆม้วนพับเข้าข้างใน และก้นฐานที่ม้วนพับบางๆ สวยงาม
พระท่ากระดาน จังหวัดกาญจนบุรี โด่งดังมาตั้งแต่ครั้งอดีต บวกกับสนิมแดงที่เริ่มจับเกาะที่พระเนตร จนได้รับฉายาว่า."พระยอดขุนพลตาแดง แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง"
พุทธศิลป์แบบอู่ทอง ประทับนั่งแบบปางมารวิชัยบนฐานแบบสำเภา สร้างด้วยเนื้อตะกั่ว อายุกาล ประมาณกว่า ๗๐๐ ปี
พระท่ากระดาน กาญจนบุรี
"สมเด็จบาง นางหนา ท่านว่าไว้ พระรอดนุ่มหนึกใน คล้ายสีผึ้ง ผงสุพรรณดินกรองต้องตราตรึง ซุ้มกอซึ้ง แร่มะขาม งามจับใจ"
พระรอด.. วัดดอนแก้ว วัดโบราณเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองลำพูน พระนางเจ้าจามเทวี ได้สถาปนามาตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๒๒๓ เป็นหนึ่งในสี่ของวัดจตุรปราการ หรือวัดประจำมุงเมืองทั้งสี่ทิศ โดยวัดดอนแก้วนั้นเป็นวัดประจำด้านทอีกหนึ่งในตำนานแห่งการสร้างโดยพระฤษี ที่มีนามว่า "ฤษี นารอด"
พระรอด พิมพ์ใหญ่ ลำพูน
อีกหนึ่งตำนานที่ลึกลับในการสร้าง แต่ก็เกี่ยวพันกับองค์พระฤษี ไม่ว่าสถานที่พบหรือคำจารึกลานทอง...คือ พระมเหศวร ซึ่งแตกกรุเพียงแห่งเดียว คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี..
พระมเหศวร เนื้อชินสังฆวานรหรือเนื้อชินอ่อน โบราณเรียก "เนื้อตะกั่วน้ำค้าง" เป็นเนื้อที่หาได้พบยากเป็นอย่างยิ่ง เอกลักษณ์เป็นเนื้อตะกั่วอ่อน สีเทา-ดำ ลักษณะผิวเนื้อเหมือนเปียกชุ่มน้ำอยู่ตลอด คล้ายๆใบไม้ที่พรมทับด้วยหยาดน้ำค้าง จึงเป็นที่มาของ "เนื้อตะกั่วน้ำค้าง".....
พระมเหศวร สุพรรณบุรี
วัดดอนแก้ว วัดโบราณเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองลำพูน พระนางเจ้าจามเทวี ได้สร้างมาตั้งแต่..ปี พ.ศ.๑๒๒๓ เป็นหนึ่งในสี่ของวัดจตุรปราการ หรือวัดประจำมุงเมืองทั้งสี่ทิศ โดยวัดดอนแก้วนั้นเป็นวัดประจำด้านทิศตะวันออก วัดอันเป็นต้นกำเนิดของพระเปิม..
พระเปิม..ยิ่งมองยิ่งซึ้งใจ แบบพระสกุลลำพูน ผนังโพธิ์โดดเด่นอลังการ์มีมิติและสวยงามจับใจมาก แต่ก็แฝงด้วยความเข้มขลัง องค์พระมีขนาดใหญ่ มีขนาดรับกับการเป็นพระประธานประจำสร้อย
ปัจจุบันบริเวณของวัดโบราณแห่งนี้ ได้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนเทศบาลตำบลเวียงยอง....
พระเปิม ลำพูน
มิติ..องค์พระเปิม..องค์นี้
พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ตำนานจากจารึกลานทองแห่งองค์พระฤษี ..
พระผงสุพรรณ สุพรรณบุรี
"ผงสุพรรณ ดินกรอง ต้องตาตรึง"
ตำนานควบคู่พงศาวดาร อาณาจักรหริภุญไชย (ลำพูน)
มวลสารผงว่านศักดิ์สิทธิ์
สนใจขอชมองค์พระติดต่อผ่านที่อยู่อีเมล...apichatimm@gmail.com
เขียนโดย ร.ต.อ.อภิชาติ ปัดภัย รอง สวป.สภ.เมืองตาก
เขียนโดย ร.ต.อ.อภิชาติ ปัดภัย รอง สวป.สภ.เมืองตาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น