"โคกเจดีย์..ปริศนาการศึก..."
"โคกเจดีย์" สิ่งปลูกสร้างก่อด้วยอิฐถือปูน ไม่แน่ชัดว่าสร้างมาตั้งแต่ครั้งในยุคสมัยใด แต่ปรากฏเป็นตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับการศึกสงครามมาตั้งแต่ครั้งในอดีต น่าเชื่อว่าเคยเป็นปราการด่านนอกหรือสถานที่สูงข่มในการส่งสัญญาณ แจ้งทัพหลวงหรือจุดซุ่มตรวจการณ์รวมถึงจุดซุ่มโจมตีข้าศึก โดยปรากฏเรื่องราวเล่าขานเด่นชัดเกี่ยวกับการศึกในยุคสมัยของ"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" มีรูปลักษณ์การออกแบบในลักษณะคล้ายกับพระเจดีย์ตามวัดวาอารามต่างๆ แต่จากการสืบเสาะข้อมูลในเบื้องต้นแล้ว ไม่น่าใช่วัดหรือเจดีย์ที่เคยประดิษฐานอยู่ภายในวัด แต่ได้ถูกก่อสร้างมาด้วยการอย่างใด ยังคงเป็นปริศนาที่รอคำตอบ......
การเดินทางสู่(วัด)โคกเจดีย์
(วัด)โคกเจดีย์..ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 5 บ้านชะลาด ต.ป่ามะม่วง อ.เมือง จ.ตาก อยู่ไม่ห่างจากตัวเมืองตาก ฝั่งตรงข้ามกับแม่น้ำปิง จากตัวเมืองตากใช้เส้นทางข้ามแม่น้ำปิงที่สะพานตากสินราชานุสรณ์ แล้วเลี้ยวขวาตรงแยกไฟสัญญาณจราจร จะเห็นป้ายแนะนำเส้นทางไม่ไกล ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง
"สะพานตากสินราชานุสรณ์...แม่น้ำปิง"
"ป้ายแนะนำเส้นทาง (ภาพถ่ายย้อนกลับ)"
"ซุ้มประตูทางเข้าบ้านชะลาด ฝั่งตรงข้าม"
จากซุ้มประตูปากทางเข้าบ้านชะลาด วิ่งตรงไปตามถนนซึ่งบางช่วงของเส้นทางอาจแคบหน่อย เพราะเป็นถนนตัดผ่านหมู่บ้าน ระยะทางประมาณราวๆ 3 กิโลเมตร จะเห็นซุ้มประตูทางเข้าวัดโคกเจดีย์อยู่ทางซ้ายมือ
"ซุ้มประตูทางเข้าวัดโคกเจดีย์"
"ป้ายหมู่บ้านชะลาด หมู่ที่ 5 ต.ป่ามะม่วง อ.เมือง จ.ตาก"
"วัดโคกเจดีย์"
"ป้ายวัดโคกเจดีย์"
"รอบๆบริเวณเป็นที่ลุ่มน้ำและไร่นา"
ปัจจุบัน..โคกเจดีย์..(ล่าง)..มีสถานะเป็นวัด ชื่อว่า "วัดโคกเจดีย์" ตามชื่อเดิม โดยห้อมล้อมเนินดินโคกเจดีย์ดั้งเดิม ยังคงตั้งโดดเด่นตระหง่านอยู่ตรงกลางวัด มีสถานที่ปฏิบัติธรรม ประชาชนนิยมเดินทางมาปฏิบัติธรรมอยู่อย่างต่อเนื่อง
"โคกเจดีย์ ใจกลางวัด"
โคกเจดีย์..มีรูปลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนเอง ผมยังไม่เคยพบรูปแบบการก่อสร้างด้วยศิลปะชนิดนี้ยังที่แห่งใด ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบสี่เหลี่ยม ย่อและลดมุม สูงชะลูดขึ้นสู่ด้านบนมุมยอด ก่อด้วยอิฐก้อนใหญ่แบบอิฐมอญ เคลือบหรือฉาบด้วยปูนดำ ด้านในโปร่ง โล่ง ไม่มีแท่นประดิษฐ์หรือแท่นที่วางสิ่งของใดๆ
โคกเจดีย์..แห่งนี้..มีประตูทางเข้าที่แคบๆ 3 ทาง เหมาะสำหรับบุคคลที่มีรูปร่างเพรียวเล็กพอดี
ช่องประตูด้านข้างทะลุถึงกัน
"ด้านในโปร่ง โล่ง ทะลุยอด"
ด้วยภายใน ออกแบบเปิดโล่ง มองเห็นทะลุปรุโปร่ง จึงทำให้รอดจากการขุดค้นทำลาย หาสิ่งของมีค่า โคกเจดีย์จึงยังคงมีสภาพสมบูรณ์ ให้เราได้เห็นอยู่ตราบทุกวันนี้
"ปัจจุบัน มีแท่นที่ประดิษฐานบูชา และเป็นสถานที่นั่งวิปัสนาธรรม"
จากวัดโคกเจดีย์...เราขับย้อนกลับออกมาแล้วเลี้ยวซ้ายตรงซุ้มประตูทางเข้าวัด มุ่งตรงไปตามทาง แล้วเลี้ยวขวาตัดเข้าสู่ถนนทางหลวงชนบท เส้นทางไป...บ้านหินโค้ว มุ่งสู่สถานที่บนยอดเขาแห่งหนึ่ง อันเป็นสถานที่ UNSEEN ของการเดินทางครั้งนี้
"ทางไปบ้านหินโค้ว (ทางหลวงชนบท เส้นทางเชื่อมต่อตำบลแม่ท้อ - อ่างเก็บน้ำแม่ท้อ - บ้านหินโค้ว ตำบลป่ามะม่วง)"
ระยะทางราว 720 เมตร วัดจากระยะตัวเลขบนแผงหน้าจอรถ จากวัดโคกเจดีย์แห่งแรก เรามุ่งสู่ โคกเจดีย์แห่งที่สอง ซึ่งเป็นสถานที่ยังไม่ค่อยรู้จักกันมากนัก ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง หากไม่สังเกตุให้ดี จะไม่รู้เลยว่ามีสิ่งปลูกสร้างรูปร่างคล้ายเจดีย์อยู่ด้านบน เนื่องเพราะเทคนิกการโบกฉาบปูนด้วยสีทึบ ทำให้กลมกลืนกับภูมิประเทศ พรางตัวได้เป็นอย่างดี (ปัจจุบันปูนผุกร่อน หลุดเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา)
"มนต์ขลัง เข้มขรึม..จากอดีตกาล"
ประหนึ่งว่า...บางสิ่งกำลังจ้องมองบางสิ่งบางอย่าง..
เลี้ยวซ้ายจากทางโค้งลาดยางข้างหน้า ลงตามทางลูกรัง มุ่งสู่เนินโคกเจดีย์แห่งที่สอง
เส้นทางลูกรังไม่ไกลเท่าไหร่ ราวๆ 400 เมตร มีล้อฟรีนิดหน่อยรถทั่วไป ขึ้นได้
"สถานที่จอดรถ (เดินขึ้น)"
...ขับสี่ขึ้น....
"ทางเดินขึ้น ไม่ไกล ไม่สูงมากนัก ราวๆ ร้อยเมตรกว่าๆ"
"มีบันไดปูนคั่น ช่วงปลาย"
"หรือจะเลี่ยงเดินชมทิวทัศน์รายทาง..ไหล่เขา"
"ทิวทัศน์ริมทาง..ไหล่เขา"
สอบถามจากชาวบ้าน ได้ความว่าเป็นเส้นทางสัญจร เดินเท้า ม้า ฯ ไปมาระหว่างเขตอำเภอแม่สอดกับเขตอำเภอเมืองตาก ในช่วงที่ยังไม่มีถนนสัญจร ในยุคปัจจุบันนี้
"โคกเจดีย์ Unseen เมืองตาก"
"โคกเจดีย์"...ตั้งอยู่บนเนินเขา ดูเข้มขลัง...ดุจมีมนต์อาถรรพ์ ด้วยจุดที่ตั้งเป็นจุดสูงข่ม จึงสามารถตรวจการณ์ชัยภูมิได้รอบด้าน ศิลปะสถาปัตยกรรมเป็นแบบเดียวกับในวัดโคกเจดีย์(โคกเจดีย์ล่าง) ต่างกันในขนาดที่ย่อมกว่าและมีทางเข้าแคบๆเพียงด้านเดียว และโคกเจดีย์บน ยังคงสภาพเกือบสมบูรณ์ ปัจจุบัน ปี๒๕๕๗ ยังไม่ได้ถูกจัดตั้งเป็นวัด ผมยกให้เป็นอีกแห่ง....Unseen เมืองตาก
" ช่องทางเข้า "
"ชัยภูมิตั้งบนเนินเขา ..จุดสูงข่ม"
ส่วนบนยอด ได้รับการบรูณะติดตั้งที่กันฟ้าผ่า
"ร่องรอยบ่อหลุมเก่า มีหญ้าปกคลุมรกทึบ"
ร่อ
ฐานบ่ออิฐตรงจุดนี้ ไม่ทราบว่าใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไรเป็นที่แน่ชัด น่าจะใช้เป็นที่จุดพลุ ไฟสัญญาณ เพราะว่ามีคอกที่กำบัง..อาจจะบังความร้อนและมีฐานกลางเพื่อวางสิ่งของ
"ทิวทัศน์โดยรอบ สามารถมองทั่วบริเวณได้ 360 องศา"
"ฝั่งตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ" สามารถสังเกตุเห็น "พระพุทธตากสิน" วัดดอยข่อยเขาแก้ว สีทองเด่นชัด แสดงว่า...จากจุดนี้...สามารถส่งสัญญาณถึงกันได้...
"เขานมสาว "
บริเวณเนินดินที่ถูกขุดเจาะ คือสันอ่างเก็บน้ำแม่ท้อ ต.แม่ท้อ อ.เมือง จ.ตาก
"มุมมองจากด้านข้างโคกเจดีย์"
"สามารถตรวจการณ์ได้ถึงตัวเมืองตาก"
"ชมวิวทิวทัศน์ในตัวเมืองตาก"
"ยามควันไฟครุกรุ่น"
ยอด"พระธาตุเขาพระ" โดดเด่นสูงชัน บริเวณเขตชานเมืองตาก แสงสีรุ้ง จากฝนตกพรำๆปกคลุมทับ
"ยามสายลมสงบนิ่ง"
"ยามสายฝนโปรยปราย..รุ้งเริ่มทอแสง"
"ยามสายรุ้งทอแสงห่มฟ้า.."
ปรับแสงมุมกล้องหลายสภาพหน่อยครับ...(ภาพหาดูยาก)
"ยามแสงตะวันโพล้เพล้...ผีตากผ้าอ้อม"
ฝูง "กา" บินกลับรัง
"ยามตะวันหลับไหล แสงจันทน์สาดแสงทับดับ..แสงตะวัน"
"ภายในโคกเจดีย์" ภาพนี้..สังเกต"วงกลม"ลอยเต็มเฉพาะด้านใน..เป็นที่อัศจรรย์
"ปัจจุบัน..ได้มีการนำแท่นบูชามาประดิษฐาน"
"ภายในทะลุ โปร่ง เหมือนกับโคกเจดีย์ล่าง"
บทสรุป....
"โคกเจดีย์"..โดยเฉพาะด้านบนเนินสูงแห่งนี้..ยังคงมี..ความลึกลับ..ความขลัง..โดยเฉพาะในยามโพล้เพล้..แสงตะวันจวนจะลับขอบฟ้า...จะสามารถสัมผัสได้ถึงบรรยากาศ..ยามครั้นในอดีต..สำหรับผู้ที่รักบรรยากาศ...ที่วังเวง..คล้ายๆจะบอกเล่าให้ผู้ไปเยือนได้รับรู้....ถึงเหตุการณ์ในอดีต
ด่านปราการก่อนเข้า..ทัพหลวง...วัดดอยข่อยเขาแก้ว
และแล้ว..ครั้นจะเล่า..เหตุการณ์ในกาลศึกกรุงเก่า เห็นจะเกี่ยวพันกับสถานที่แห่งนี้ สิ่งปลูกสร้างลักษณะคล้ายเจดีย์บูชา ที่ถูกเรียกว่า "โคกเจดีย์" ในกาลต่อมา....ถูกสร้างมาเพื่อการใด
จากการที่กระผมได้ไปดู ไปชม แล้วคงวิเคราะห์ตามเรื่องราวได้ว่า..สถานที่ทั้งสองแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นโคกเจดีย์ทั้งข้างล่างที่ลุ่มและข้างบนที่เนินสูง..เป็นสิ่งก่อสร้างรูปแบบเดียวกัน และคงถูกสร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน
..เจตนาเพื่อลวงตา พราง..ข้าศึกว่าเป็นสถานที่บูชา..เป็นกลยุทธในการศึกหรือเปล่า ครั้นเมื่ออริศัตรู..รุกล้ำเข้ามา..โคกเจดีย์บน..มีชัยภูมิที่สูงกว่า..เปรียบเสมือนด่านหน้า ตรวจการข้าศึกได้ในระยะไกล..ทหารกล้า..จึงต้องจุดพลุไฟสัญญาณ(ในตอนกลางคืน) หรือโบกธงสัญญาณ (ในตอนกลางวัน) เพื่อบ่งบอกให้ล่วงรู้ถึงด่านหน้า..ซึ่งก็คือ..โคกเจดีย์ตอนล่าง..และยังเป็นการส่งสัญญาณไปถึงทัพหลวง..ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ห้อมล้อมด้วยลำห้วยแม่ท้อ นั่นก็คือ...ค่ายหลวง..วัดดอยข่อยเขาแก้ว เพื่อเตรียมการรับศึก..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น