"ลูกแก้วยอดพระธาตุดอยหินกิ่ว"
"พระธาตุดอยหินกิ่ว"
จากตัวอำเภอเมืองตาก ผมใช้เส้นทางลัดเลาะภูมิประเทศไหล่เขา ตาก - แม่สอด เส้นทางโค้งสูงชันผ่านตำบลแม่ท้อ อำเภอเมืองตากถึงอำเภอแม่สอด ระยะทางรวมแล้วประมาณ เกือบ 90 กิโลเมตร
ระหว่างทางก่อนถึงอำเภอแม่สอดเล็กน้อย แวะชมศิลปะอุโบสถคล้ายตั้งอยู่บนเรือสำเภาลำใหญ่ อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของ..."วัดโพธิคุณ"
อุโบสถเรือสำเภา วัดโพธิคุณ
"วัดโพธิคุณ" เป็นวัดฝ่ายอรัญวาสีหรือเป็นวัดป่าสายปฏิบัติ ตั้งอยู่ในสถานที่ ที่ร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้และป่าเขา ธรรมชาติ
ทางเข้าวัด (ถ่ายภาพย้อนกลับ)
"วัดโพธิคุณ" ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยเตย ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อยู่ก่อนถึงตัวอำเภอแม่สอดราวๆ 10 กิโลเมตร ทางเข้าวัดเป็นถนนใหญ่ มีภูเขาบัง ต้องลดความเร็วลงไม่งั้นขับเลยเหมือนผมแน่ๆ ฮ่าาา..
สถานที่ภายในวัด ร่มรื่น สบายตา สบายใจ
อุโบสถเรือสำเภา วัดโพธิคุณ
พระประธานในชั้นที่สอง
ศิลปะแห่งสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ศาลาการเปรียญ แฝงไว้ในป่าเขาอย่างโดดเด่น
สระน้ำภายในวัด พยายามจะถ่ายภาพตะพาบยักษ์ ได้แค่หัวนิดเดียว
เดินทางต่อไปยังตลาดริมเมย อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางไปด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สอด และสะพานมิตรภาพไทย -พม่า
สะพานมิตรภาพไทย -พม่า
ตลาดริมเมย
เป็นตลาดการค้าชุมชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเมย ข้างสะพานมิตรภาพไทย - พม่า ตรงข้ามเมืองเมียวดี ประเทศสหภาพเมียนมาร์ สินค้ามีส่วนคล้ายๆกับสินค้าตามตลาดแนวชายแดนทั่วๆไป เช่นอัญมณี เครื่องใช้ไฟฟ้า ไฟฉาย เสื้อผ้า เครื่องไม้แกะสลัก ผลิตภัณฑ์จากไม้ทานาคาสินค้าพื้นเมืองจากฝั่งเมียนมาร์และอาหารทะเล ที่มาจากทางฝั่งเมียนมาร์
แม่ค้าคนนี้ ขายสินค้าประเภทอาหารแห้ง ปลาแห้ง ปลาหมึกแห้ง
"ปลาหัวยุ่ง"
สินค้าเอกลักษณ์ของที่นี่ ขายไม่แพง 4 ถุงร้อยบาท
สินค้าเอกลักษณ์ของที่นี่ ขายไม่แพง 4 ถุงร้อยบาท
ปลาหัวยุ่งตัวใหญ่
จุดท้ายตลาด บนระเบียงแนวทางเดิน สามมารถเลือกซื้ออาหารสดหรืออาหารทะเลสดได้
แผงขายของริมทางเดิน
"สุดประจิมที่ริมเมย"
จากตลาดริมเมย มุ่งหน้าต่อไปยังที่หมายหลักของการเดินทางครั้งนี้ "พระธาตุดอยหินกิ่ว" โดยใช้เส้นทางย้อนกลับเรียบสะพานมิตรภาพไทย - พม่า เลี้ยวซ้ายตรงแยกไฟจราจรแรกสุด ผ่านวัดไทยวัฒนาราม จนถึงแยกบริเวณบ้านวังตะเเคียน เลยขอแวะตลาดเย็นบ้านวังตะเคียนซะหน่อย
ทีแรกนึกว่าหลงเข้ามายังฝั่งประเทศเพื่อนบ้านซะแล้ว เส้นทางก็ยังงงๆเอาการอยู่ ครั้นจะหยุดรถถามทาง ก็ยังไม่แน่ใจว่าเขาจะเข้าใจเราป่าว ผู้หญิงแต่ละคนใบหน้าปะด้วยแป้งทานาคา ผู้ชายก็นุ่งโสร่งผิวทะมึน เอาละวะ...งงเป็นไก่ตาแตก เราหลงเข้ามาในเขตประเทศเพื่อนบ้านเราป่าว จนกระทั่งรถแล่นมาถึงบ้านวังตะเคียน อ้าววว....ภาษาไทยนี่หว่า...เราไม่หลง งั้นหยุดรถเที่ยวตลาดซะเลย...
ตลาดสดตอนบ่ายๆ บ้านวังตะเคียน
เอกลักษณ์ของสินค้าที่นี่ ผมว่าปลาสด บางชนิดไม่เห็นในตลาดบ้านเราทั่วไป
ขนมท้องถิ่น จากฝั่งเพื่อนบ้าน
ลักษณะคล้ายขนมเบื้องใส้มะพร้าว เห็นแม่ค้าทำแล้วแบบชาวบ้านจริงๆ นำขนมที่ผสมแล้วซึ่งมีแป้ง น้ำตาล งาดำและมะพร้าวเป็นหลัก ตักมาเทลงบนภาชนะคล้ายกะทะก้นลึก จากนั้นจึงผ่านกรรมวิธีการทำให้สุกด้วยการอบแบบบ้านๆ ขนมจะมีกลิ่นหอมจากส่วนผสมของงาดำและมะพร้าว
การอบขนมแบบบ้านๆ จะอบแบบใส่เตาถ่านเพื่ออบด้านบน สลับกันไปมาสองกระทะ พร้อมๆกับสลับการพลิกขนมให้ได้ไฟทั่วถึง ไม่ให้ขนมไหม้
สลับเตาถ่านมาอบด้านบน ด้านซ้าย
สลับเตาถ่านมาอบด้านบน ด้านขวา
ขนมหอมๆที่ได้ อันละห้าบาท รสชาติหวาน มัน หอม..ครับ
เดินทางต่อไปยังวัดพระธาตุดอยหินกิ่ว เส้นทางคงค้างอีกราวๆ 3 กิโลเมตร
"พระธาตุดอยหินกิ่ว ดอยดินจี่"
เริ่มสร้างตามป้าย เมือปี พ.ศ.2507
บันไดทางเดินขึ้น ด้านหลังศาลาการเปรียญ
เด็กๆอาสาพาขึ้นไป
เริ่มเดินขึ้นเลยครับ เป็นขั้นบันไดแบบเทปูน ความสูงชันใช้ได้ เหนื่อบหอบแฮกๆ ยังไม่ถึงครึ่งทางเลยครับ
จำต้องหยุดพักตรงศาลาที่พักริมทางซะแล้ว...
ด้านหน้าศาลา เป็นถ้ำพระหรือถ้ำลอด
เลยศาลาแรกขึ้นมาระยะหนึ่ง เป็นทางแยกเดินลัดเลาะไปตามภูมิประเทศ
ป่าไผ่
ทางเดินธรรมชาติ
ศาลาที่สอง จุดพักชมวิวและชมพระธาตุดอยดินกิ่ว
"พระธาตุดอยหินกิ่ว"
มุมมองจากศาลที่พักริมทางแห่งที่สอง
"พระธาตุดอยหินกิ่ว"
เดินเท้าขึ้นมา ถัดจากศาลาแห่งที่สองอีกซักครู่เดียว เราจะพบกับความโดดเด่นขององค์พระธาตุ ตั้งอบู่บนชะง่อนหินริมฝั่งหน้าผา ก้อนหินสีทอง มีลักษณะฐานคอดกิ่ว (ตามชื่อพระธาตุ) แต่คงความเป็นอัศจรรย์ ที่สามารถตั้งมั่นทนสภาพลมฟ้าอากาศได้มาถึงทุกวันนี้ คล้ายกับพระธาตุอินทร์แขวน ทางฝั่งเมียนมาร์
ใต้ฐานมีลักษณะคอดกิ่ว ชาวบ้านนำไม้มาค้ำตามความศรัทธา
เทพปกปักษ์รักษาองค์พระธาตุ
"แสงสีม่วง แห่งลูกแก้วยอดพระธาตุ"
ลูกแก้วยอดพระธาตุ ส่องประกายความศักดิ์สิทธิ์
ดุจดังมีพลังงานลึกลับ แฝงเร้นอยู่ในรัศมีแห่งแสงสีม่วง
กับการเดินเท้าที่ก้าวขึ้นไปด้วยใจศรัทธา ด้วยระยะขั้นบันไดกว่า500 ขั้น ได้พบในสิ่งที่น่าประทับใจ จึงได้ฝากประกาศศรัทธาไว้ ณ ที่แห่งนี้
ปิดทริปด้วยภาพบ้านเรือนฝั่งประเทศเพื่อนบ้านเราครับ
เหมือนพระธาติอินแขวนที่พม่าเลยครับ
ตอบลบครับ เดินขึ้นเหนื่อยมาก นับขั้นบันไดเกินห้าร้อยขั้น ทางชันด้วย เหนื่อยกว่าเดินขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพอีกนะ
ตอบลบ