พงไพร ผีป่า นางไม้

พงไพร ผีป่า นางไม้

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ตอน อ่างฤาไน ป่าพื้นราบที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งภาคตะวันออก




 ภาคสองลงแก้ไขใหม่เพิ่มภาพ หลังจากได้มีโอกาสกลับไปอีก พร้อมเพื่อนร่วมทางที่มีใจรักป่าอีก 1 คน




      ทริปนี้ลุยเดี่ยวในการเดินทางครั้งแรก ลุยป่าพื้นราบ " ป่าอ่างฤาไน " ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งภาคตะวันออก อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ช่วงเดือนเมษายน 55 มุ่งหน้าสู่น้ำตกบ่อทอง จุดมุ่งหมายไม่ได้อยู่ที่ตัวน้ำตก แต่อยู่ที่บรรยากาศของป่าอันยังคงความอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยพรรณไม้และพืชพันธุ์ชนิดต่างๆ นกป่านานาชนิด 

                                สะพานข้ามห้วยจุดแรกของการเดินทางเข้าพื้นที่

 หลังจากขออนุญาตเจ้าหน้าที่ ที่สำนักงานเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอ่างฤาไนแล้ว ก็มุ่งไปยังน้ำตกบ่อทอง สภาพเส้นทาง สองข้างทางยังคงเป็นป่าทึบที่สมบูรณ์มาก 


                แสงแดดยากส่องกระทบถึงพื้นดิน สภาพผืนป่าส่วนยอดของต้นไม้มีลักษณะโน้มเข้าหากัน บดบังแสงแดดไม่ให้ตกกระทบพื้นดิน รกทึบมาก








     สภาพผืนป่าสมบูรณ์มาก บางจุดรถสูงกว่านี้คงผ่านไปไม่ได้ แนะนำสำหรับรถขับสี่่ไม่สูงมากนักหรือรถสภาพเดิมๆ และสำหรับท่านที่มีใจรักธรรมชาติเท่านั้นนะครับ







        เลี้ยวซ้าย ทางเข้า "หน่วยพิทักษ์ป่าน้ำตกบ่อทอง"  จุดพักค้างแรมคืนนี้ ส่วนน้ำตกบ่อทองไปทางขวา อีกประมาณ 2 กิโลเมตร


ข้ามสะพานไม้แบบวางพาดสองฝั่งธรรมดา

ลำห้วยใสๆ เห็นปลาตัวเล็กๆ







  บ้านพักใน " หน่วยพิทักษ์ป่าน้ำตกบ่อทอง "


เก็บข้าวของแล้ว กลับออกมาชม "น้ำตกบ่อทอง"

  
 ทางไปน้ำตกบ่อทอง














จุดนี้ได้ปั่นขับสี่แน่ พื้นหินและลาดเอียง






  อุปสรรครากไม้ ในบางจุด






 "น้ำตกบ่อทอง" อยู่ใกล้เคียงกับหน่วยพิทักษ์ป่าน้ำตกบ่อทอง อยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน (บ้านช้างป่าหลังสุดท้าย) เป็นพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด คือฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และปราจีนบุรี 




ป่าจริงๆ เขียวรอบตัวไปหมด


ไม้ใหญ่ตันนี้ ยังยืนหยัดอยู่ได้ สูงตระหง่านป่า หลังจากไฟป่าแผดเผาลำต้น 
     





   ความสมบูรณ์ของธรรมชาติที่เราสามมารถจับต้อง รู้สึกสัมผัสได้ ป่าแต่ละป่ามีพลังอำนาจ มีเสียงของป่าแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน นี่คือสภาพป่าที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม หนาทึบจนยากที่แสงแดด จะสาดแสงส่องทะลุได้ คงมีเพียงบางช่วงของป่าโปร่งเท่านั้น ที่ปล่อยให้แสงแดดสาดกระทบพื้นผิวได้  


รวมพืชพันธุ์ป่า






ปฏิมากรรมต้นไม้

รอยเท้าสัตว์ออกหากิน


    ด่านช้าง แม่ - ลูกอ่อน สังเกตมีรอยใหญ่กับรอยเล็กเดินตามเคียงกันไป รอยเพิ่งใหม่เปียกอยู่ แสดงว่าเพิ่งผ่านไปได้ไม่นาน เราต้องรีบเผ่น กลัวเขาจะหวนกลับมา เรื่องช้างมีลูกอ่อนเนี่ยดุนัก ตัวใครตัวมัน

วัดรอยเท้า(ช้าง)

อะไรอยู่ในรอยเท้าช้าง

แมงแสนตีน (กิ้งกือ) ใหญ่จริงๆ

 ส่องดูสัตว์

                                                                 
ลานจอดรถน้ำตกบ่อทอง 

แมงรูปร่างแปลกๆ แสดงถึงการปรับตัวเข้ากับธรรมชาติ เพื่อความอยู่รอดหรือพรางตาศัตรู


อันนี้ก็พรางตัว...





ทางเดินไปน้ำตกบ่อทอง ราวๆ 15-20 นาที


ลูกหวายป่า

ปลากั้งภูเขา


     พอเดินถึงตัวน้ำตกแล้วถอดรองเท้าออกเพื่อเล่นน้ำ เพื่อนโดนเข้าไปหนึ่งตัว "ทาก" ป่าดิบชื้น อิ่มแปล้เลย ไม่รู้ตัวโดนเข้าไปเมื่อไหร่




"น้ำตกบ่อทอง"
       น้ำตกบ่อทอง เป็นน้ำตกขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ก็เข้ากับสภาพบรรยากาศป่าในพื้นที่โดยรอบ เสียงน้ำตกกระทบโขดหินดังสนั่น น้ำใสเย็น ลงเล่นได้

                                          มาถึงแล้วก็ต้องลงเล่น น้ำเย็นยะเยือกสะใจทีเดียว


กลับมาพักที่ "หน่วยพิทักษ์ป่าน้ำตกบ่อทอง"  จุดพักค้างแรมคืนนี้
   





 กลับมาพักแรมที่บ้านพักในหน่วยพิทักษ์ป่าน้ำตกบ่อทอง ตอนกลางคืนยังได้ยินเสียงช้างป่าหักกิ่งไม้อยู่เป็นระยะ กลางคืนผ่านไปด้วยดี ตื่นแต่เช้าตรู่เช่นเคยหากตื่นสายคงพลาดโอกาสหลายๆอย่าง โดยเฉพาะกิจกรรมการส่องดูนก นกหลากหลายชนิดมาก มากันเป็นฝูง ทั้งนกแขกเต้า นกขุนทองและนกชนิดอื่นๆ แต่ที่น่าทึ่งที่สุด หาชมและหาฟังยากมาก แม้กระทั่งในสวนสัตว์เอง ในขณะที่มันบินผ่านเหนือเรา แต่แรกก็ไม่รู้ว่าเป็นเสียงของอะไร พอคลำทิศทางเสียงได้ถูก และต้องพึ่งอุปกรณ์ช่วย คือกล้องส่องทางไกล ถึงรู้ว่านั่นคือเสียงคำรามของนกเงือกและนกในตระกูลนี้ เสียดายไม่มีกล้องถ่ายภาพดีๆ เห็นทีกลับไปต้องถอยอีกตัวซะแล้ว

     ตื่นเช้าพอจะถ่ายรูปได้ทันอยู่หนึ่งตัว นกตะขาบทุ่ง ตอนขากลับไก่ฟ้าพญาลอบินโฉบหากินนำหน้า เดินกึ่งวิ่งรวดเร็วมาก น่าจะเร็วกว่าไก่ป่าด้วยซ้ำ แต่ถ่ายรูปไม่ได้เพราะแสงน้อย กลางวันไม่ต่างอะไรกับพระอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า


    เส้นทางขากลับ แวะถ่ายรูปกับป้ายสัญลักษณ์ "อ่างฤาไน บ้านช้างป่าหลังสุดท้ายในภาคตะวันออก"



     ขากลับ GPS นำทางเช่นเคย ออกมาได้ไม่กี่สิบนาที GPS นำผมผ่านวัดพระธาตุที่สวยงามแห่งหนึ่ง จึงได้แวะกราบนมัสการ "พระธาตุวาโย" ต.ลาดกระทิง อ.สนามชัย จ.ฉะเชิงเทรา




 "พระธาตุวาโย" สูงตระหง่าน สวยงามมาก

เฉดสีน้ำเงิน "พระธาตุวาโย" ตัดกับท้องฟ้า ดูสวยงามมากๆ


        หากมีโอกาสได้กลับมาอีกครั้ง ต้องเก็บภาพถ่ายนกเงือกและไก่ฟ้าพญาลอให้ได้ ท่านที่จะเข้ามาเยือนขอช่วยนำหนังสือหรือหนังสือพิมพ์มาฝากเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ด้วยจะดีมาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น