พงไพร ผีป่า นางไม้

พงไพร ผีป่า นางไม้

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทริปวันหยุดเบาๆกับบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง บ้านลานหิน หมู่ที่ 5 ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร

"อนุสาวรีย์พระร่วงเจ้า"

"บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง"

      "บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง" ตั้งอยู่ที่บ้านลานหิน หมู่ที่ 5 ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชรไปตามถนนสายกำแพงเพชร-พรานกระต่าย(ทางหลวงหมายเลข 101) รวมระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวเมืองประมาณ เกือบ 60 กิโลเมตร ตามถนนวังเจ้าสายเก่า
         
                                             แวะเพิงขาย  "กล้วย" ริมทาง เส้นทางจากตัวเมืองกำแพงเพชร 

       กล้วยเป็นสินค้าท้องถิ่นของเมืองกำแพงเพชร หาซื้อได้ตลอดริมทางสัญจร

ใช้เส้นทางเลี้ยวขวาตรงแยกบ้านท่าไม้แดง

"แยกบ้านท่าไม้แดง"



       เลี้ยวขวาตรงแยกบ้านท่าไม้แดง ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เส้นทางสะดวกสบาย

            ขับรถมาไม่ไกลจากทางแยกบ้านท่าไม้แดง มีป้ายบอก "บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง"


 ถึงแล้ว "บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง" ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลลานดอกไม้  อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร


ป้ายบอกเวลาเปิดปิดให้บริการ

"ศาลพระร่วง" ประดิษฐานริมทางเข้า


"พระร่วงเจ้า"

แท่นจารึกตำนานบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง

         "บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง (บึงสาป)" ตั้งอยู่ที่บ้านลานหิน หมู่ที่ 5 ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร มีลักษณะเป็นที่ลุ่มน้ำขัง มีป่าโปร่งล้อมรอบสลับด้วยเนินเตี้ยๆ พื้นดินบางแห่งมีหินโผล่ขึ้นเป็นกลุ่มน้อยใหญ๋สลับกันไป ตามตำนานเล่าว่า ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สมเด็จพระร่งเจ้าได้เสด็จประพาสป่าล่าสัตว์มาถึงบริเวณบ้านลานหินและได้เสด็จประทับ ณ ที่แห่งนี้  พระองค์เห็นไก่ป่าตัวหนึ่ง ลักษณะสวยงามและมีเสียงขันที่ไพเราะมาก จึงให้นายพรานที่ตามเสด็จ ทำการต่อไก่ป่าตัวนั้นและได้ไก่ป่าตัวนี้สมพระราชประสงค์ โดยมีไก่ป่าตัวอื่นๆติดไปด้วยจำนวนมากและในวันนั้น พระองค์และบรรดานายพรานล่าสัตว์อื่นไม่ได้เลย จึงให้ทหารนำไก่ป่าตัวอื่นๆไปปรุงอาหารสำหรับเสวย  แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นป่า ไม่มีบ้านเรือนราษฏร จึงไม่มีไฟใช้ทำอาหาร พระองค์จึงได้สาปน้ำที่อยู่ในบึงบริเวณใกล้ๆให้เป็นน้ำร้อน บึงดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า "บึงพระร่วงสาป" ต่อมาภายหลังเรียกให้สั้นลงว่า "บึงสาป" และต่อมาเป็นที่โจษขานกันว่า บึงสาปนี้สามารถนำไปอธิษฐานรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เช่นโรคปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคผิวหนัง จึงมีประชาชนในท้องถิ่นและแถวจังหวัดใกล้เคียง พากันไปอาบ แช่ หรือนำไปดื่มกิน และนำไปเพื่อความเป็นสิริมงคล

ทางเดิน

 ป้ายแนะนำสถานที่

ลานบ่อน้ำพุร้อน

จารึกตำนานบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง

"บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง"
     อุณหภูมิของน้ำร้อนอยู่ระหว่าง 45-60 องศาเซลเซียส ใช้อาบ แช่ตัวได้ และที่สำคัญดื่มได้อย่างปลอดภัย  แร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำแร่ประกอบด้วย แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟลูออไรด์ โซเดียม ไบคาร์บอเนต ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คลอไรด์ ซัลเฟต และไนเตรต 



"จุดบริการจักรยานน้ำ"



กับอีกหนึ่งกิจกรรม "การแช่เท้า"


รูปเคารพสักการะ "พระร่วงเจ้า" ภายในบริเวณลานน้ำพุร้อน


"ขอมดำดิน" ในตำนานพระร่วง


    การใช้น้ำที่มีอุณหภูมิสูงในระดับที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตมีผลต่อการผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ เป็นผลให้รู้สึกสบายตัวยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายรู้สึกสบายความตึงเครียดน้อยลง ย่อมมีผลต่อสภาพจิตใจ ถือเป็นการผ่อนคายความเครียดได้อีกวิธีหนึ่ง