พงไพร ผีป่า นางไม้

พงไพร ผีป่า นางไม้

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เล่าเรื่องข้างกองไฟ ตอน...เยือนดอยศักดิ์สิทธิ์ ถิ่นฐานยักษ์ วัดพระธาตุดอยคำ ถนนเชียงใหม่-หางดง ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

"พระธาตุดอยคำ" 

"วัดพระธาตุดอยคำ"

"ยักษ์..จิคำหรือปู่แสะและยักษ์..ตาเขียวหรือย่าแสะ"

    เล่าเรื่องตำนานสืบมาแต่ครั้งพุทธกาล  ณ ดินแดนอันเป็นถิ่นฐานของชน "ชาวลัวะ" ตั้งอยู่ระหว่างริมฝั่งแม่น้ำแม่ระมิงค์หรือแม่น้ำปิงในปัจจุบัน  มีชื่อเมืองว่า "บุรพนคร" และทางทิศตะวันตกของเมือง มีเทือกเขาหรือทิวดอย มีชื่อเรียกว่า"ดอยคำหรือสุวรรณบรรพต" อันเป็นอาณาเขตหากินและถิ่นที่อยู่อาศัยของยักษ์พ่อแม่ลูก ๓ ตน โดยยักษ์ผู้พ่อมีนามว่า "ยักษ์จิคำหรือปู่แสะ" ยักษ์แม่นั้นมีนามว่า "ยักษ์ตาเขียวหรือย่าแสะ" ส่วนยักษ์ลูกนั้นไม่ปรากฏนาม ยักษ์ทั้งสามตน นั้น ยังชีพด้วยการกินเนื้อสัตว์หรือเนื้อมนุษย์ ทำให้ทั้งมนุษย์และสัตว์อาศัยอยู่กันอย่างหวาดกลัว กลัวว่าจะต้องได้กลายเป็นอาหารโดนยักษ์จับกินสักวัน
    ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จมาพร้อมด้วยเหล่าอรหันตสาวกและได้ประทับยังสถานที่เมืองบุรพนครเพื่อเผยแผ่ธรรม ทรงได้สดับรับฟังเรื่องราวอันเป็นทุกข์จากชาวบ้านถึงเรื่องของยักษ์สามตนนี้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จไปยังดอยคำหรือสุวรรณบรรพต พร้อมด้วยเหล่าอรหันตสาวกเพื่อหวังจะแสดงพระธรรมเทศนาโปรดยักษ์ทั้งสามตน แต่เมื่อยักษ์ทั้งสามเห็นพระพุทธองค์พร้อมด้วยเหล่าอรหันตสาวก จึงหมายที่จะจับกินเป็นอาหารเสีย พระพุทธองค์ทรงทราบจึงได้ทำการแผ่เมตตาและแสดงพระธรรมเทศนาโปรดหมู่ยักษ์นั้นให้ละจากกิเลสเว้นจากการเบียดเบียนชีวิต เว้นจาการลุ่มหลงจับมนุษย์และสัตว์เป็นอาหาร พร้อมกับให้พระอานนท์แสดงอภินิหารให้ประจักษ์แก่ยักษ์พ่อแม่ลูกทั้งสามตน
    เมื่อยักษ์ทั้งสามได้ประจักษ์ซึ่งอภินิหารและรับการแผ่เมตตาจากพระพุทธองค์ จึงต่างมีจิตลดมิจฉาทิฐิพร้อมกับพากันก้มลงกราบพระพุทธองค์และตั้งใจสดับรับฟังพระธรรมเทศนา ซาบซึ้งในรสพระธรรมจนเขี้ยวของยักษ์ทั้งสามหลุดหล่นหายไป จากนั้นพระองค์ก็ทรงตรัสกับยักษ์ทั้งสามตนว่า "ท่านทั้งสามเป็นผู้ลุ่มหลง กระทำบาปกรรมเอาไว้มาก จากนี้ไปขอจงเร่งสร้างบุญสร้างกุศลเถิด" จากนั้นพระพุทธองค์จึงให้ยักษ์ทั้งสามรับสมาทานศีล ๕ ไปปฏิบัติ ยักษ์ผู้เป็นลูกรับสมาทานศีล ๕ ได้ ส่วนยักษ์ผู้พ่อ "ยักษ์จิคำหรือปู่แสะ"และยักษ์ผู้แม่ "ยักษ์ตาเขียวหรือย่าแสะ"นั้น ไม่สามารถรับสมาทานศีล ๕ ได้ ยังคงขอร้องในการกินเนื้อมนุษย์ปีละ ๒ หน เพราะตัวเองเป็นยักษ์หากไม่ให้กินเนื้อแล้วจะอยู่ได้อย่างไร พระพุทธองค์สดับเช่นนั้นก็ยังมิอนุญาตแม้ยักษ์พ่อแม่จะเปลี่ยนมาเป็นการขอกินเนื้อสัตว์แทนก็มิได้ทรงอนุญาต
    พระพุทธองค์ทรงกำหนดรู้ว่าจะมียักษ์เพียงตนเดียวที่จะสามารถปฏิบัติตามธรรมแห่งพระพุทธองค์ได้นั้นก็คือยักษ์ผู้ลูก ส่วนยักษ์พ่อและแม่ทั้งสองนั้น พระพุทธองค์ทรงให้ไปร้องขอจากเจ้าเมืองผู้ครองนคร ซึ่งเจ้าเมืองผู้ครองนครยังมีจิตคิดเอ็นดู จึงให้อนุญาตกินเนื้อสัตว์ตามที่ร้องขอได้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องช่วยปกปักษ์รักษาพระพุทธศาสนา ถึงแม้ว่าจะสิ้นแก่อายุขัยไปแล้วดวงจิตที่ยังอยู่จะต้องรักษาบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข และปกป้องรักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่ครบกัลป์ไปตลอด ๕,๐๐๐ ปี
    แต่ถึงกระนั้นแม้ดูเหมือนว่าจะสิ้นซึ่งฤทธิ์ของยักษ์แล้ว แต่ผู้คนก็ยังมิคลายความหวาดกลัวยังคงเกรงกลัวอิทธิฤทธิ์ของยักษ์อยู่และก็ยังหวังให้ยักษ์ทั้งสองช่วยปกปักษ์รักษาพระพุทธศาสนาและบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข ในทุกๆปีจึงได้มีพีธีเซ่นบวงสรวงดวงจิตของยักษ์สืบต่อเนื่องกันมา เรียกว่าพิธี "เลี้ยงดง"หรือ"พิธีเลี้ยงดงปู่แสะย่าแสะ" จัดขึ้นบริเวณเชิงดอยคำของทุกๆปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำและแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ เหนือของทางล้านนา หรือประมาณช่วงปลายเดือนพฤษภาคม และเดือนมิถุนายน


เส้นทางสู่ดอยคำ


    เส้นเดียวกันกับทางไป"อุทยานหลวงราชพฤกษ์"เขตตำบลแม่เหียะ  อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

    ลัดเลาะไปตามขอบแนวรั้วของ"อุทยานหลวงราชพฤกษ์" จะเห็นวัดพระธาตุดอยคำ ตั้งอยู่บนยอดดอย โดดเด่น

    ป้าย "วัดพระธาตุดอยคำ" ตั้งอยู่เชิงเขาทางขึ้นวัด วัดพระธาตุดอยคำ ขับรถขึ้นไปอีกประมาณเกือบ ๒ กิโลเมตร


เส้นทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยคำ

                        ลักษณะเป็นทางโค้งขึ้นเขา ช่วงแคบ


    บริเวณลานจอดรถชั้นล่าง "วัดพระธาตุดอยคำ" กระผมขึ้นมาแต่เช้า ก็เลยยังมีที่ว่างให้จับจอง ต้องขอจอดที่บริเวณชั้นล่าง จะได้เดินถ่ายรูปไปตามประสานักเดินทาง


ทางขึ้นลานจอดรถชั้นบน

    ช่วงสายๆ รถเริ่มจะหนาแน่นด้วยแรงศรัทธาจากทั่วทุกสารทิศแม้แต่ชาวต่างชาติ เช่นชาวสิงคโปร์ ชาวจีน....

วิหาร...ด้านนอกเขตกำแพงวัด

ร้านค้าขายของที่ระลึก



 "พระพุทธนพีสีพิงครัตน์” 

   พุทธศิลปแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง มีขนาดความกว้งหน้าตัก ๑๒ เมตร ขนาดความสูง ๑๗ เมตร 









ปริศนาสอนธรรม ให้ข้อคิดเตือนใจ

"อนุสาวรีย์พระนางเจ้าจามเทวี"


   ด้านหน้าอนุสาวรีย์พระนางเจ้าจามเทวี เป็นรูปปั้นช้างมงคล ๒ เชือก คือ "ช้างปู้ก่ำงาเขียว" กับ "ช้างปู้ดำงาดอก" ประชาชนนิยมลอดท้องช้างเพื่อเป็นสิริมงคล ไล่สิ่งอัปมงคล

"วัดพระธาตุดอยคำ"

รูปแบบศิลปะกรรมปูนปั้นที่สวยงาม


ทางเข้าไหว้พระธาตุ...วัดพระธาตุดอยคำ

"พระธาตุดอยคำ"

    ตำนานเรื่องเล่าความเป็นมา ก่อนจะเป็นวัดพระธาตุดอยคำ มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล โดยมียักษ์จิคำและยักษ์ตาเขียวเป็นผู้ปกปักษ์รักษา ตามตำนานภายในพระธาตุบรรจุไว้ซึ่งพระเกษาธาตุที่พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ามอบให้ยักษ์ตาเขียว แล้วนำมาบรรจุไว้ภายในองค์พระธาตุ สืบอายุกาลพระพุทธศาสนา วัดพระธาตุดอยคำมีอายุกาลตั้งแต่แรกเริ่มไม่ต่ำกว่า ๑,๓๐๐ ปี ผ่านการทำนุบำรุง บูรณะซ่อมแซมมาหลายยุคสมัย

"ประวัติวัดพระธาตุดอยคำ"
   วัดพระธาตุดอยคำ สร้างในสมัยพระนางจามเทวี ผู้ครองนครหริภุญชัยหรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน โดยพระโอรสทั้งสองเป็นผู้สร้าง ในปี พ.ศ.๑๒๓๐ ประกอบด้วยพระเจดีย์บรรจุพระบรมสาริริกธาตุ ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบล้านา รูปแบบเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ มาลัยเถาแบบเหลี่ยม มีความโดดเด่นที่ฐานราก นอกจากนั้นยังมีศาลาการเปรียญ พระพุทธรูปปูนปั้น มีชื่ออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า "สุวรรณบรรพต" ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า "ดอยคำ"
    ตามประวัติ เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๐๙ วัดดอยคำมีสภาพถูกทิ้งร้าง ต่อมามีการแอบลักลอบเขาไปขุดหาของมีค่า กรุแตก พบโบราณวัตถุหลายชิ้น อาทิ..พระรอดหลวง มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปหินทรายปิดทอง องค์ใหญ่ พระผงเนื้อดินสามหอม พระคง ส่วนพระแก้วมรกตประจำองค์พระนางเจ้าจามเทวี เล่าสืบกันว่าพบด้วยตอนกรุแตกแต่ได้สูญหายไม่ทราบผู้ใดถือครอง
การบูรณะวัดและบริเวณวัด ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นต้นมามีการบูรณธวิหารศาลา หุ้มทองพระเจดีย์ บุรณะพระพุทธรูปเชียงแสนองค์ใหญ่ "พระพุทธนพีสีพิงค์" และในปี พ.ศ.๒๕๓๘ ได้มีพิธีเทองหล่ออนุสาวรีย์พระแม่เจ้าจามเทวี ณ บริเวณลานหลังวัดพระธาตุดอยคำ มีพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘

"The history of Doi Kham Temple"
    Doi Kham Temple is located at Handong Distric,western part of Chiangmai City, was founded  in the period of Queen Jammadhewee of Ancient City Lamphun by both of her sons in B.E. 1230 (A.D.687). Doi Kham Chedi  is believed to contain relics of Lord Buddha.Now, Doi Kham is well-known as historical sites,traditional legend,holy legend of religion.



กับภาพหลายๆมุมครับ


"หลวงพ่อทันใจ"

              "หลวงพ่อทันใ ศักดิ์สิทธิ์" วัดพระธาตุดอยคำ เป็นที่รู้จักกันมานาน ไม่ว่าจะเป็นตำนานความเก่าแก่ ประเพณีเลี้ยงดง กรุพระเก่า กรุพระคงดอยคำ กรุพระสามหอมที่งดงามในพุทธศิลป์ มาในยุคปัจจุบันนี้ ผู้คนยังรู้จักวัดพระธาตุดอยคำ ในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทันใจ

    ประชาชนมากราบไหว้ขอพรหลวงพ่อทันใจ หรือมาแก้บนด้วยพวงมาลัยดอกมะลิ 




พระวิหารวัดพระธาตุดอยคำ

                    
                    "พระรอดหลวง" ประดิษฐานภายในพระวิหาร  

หน้ากาลแกะสลัก

                                      รูปปูนปั้นยักษ์ ประตูทางเข้า

กิจกรรมทำบุญปิดทองลูกนิมิต

"ระฆัง..กังวานไกล"

พระพุทธไสยาสน์ ศิลปะแบบไทยใหญ่ สวยงาม

    "อาศรมแม่ย่าแสะ ยักษ์ตาเขียว...ผู้ดูแลพระธาตุ หรือทางล้านนาเรียก..เสื้อพระธาตุ"


    "อาศรมพ่อปู่แสะเจ้าจิคำ ยักษ์ผู้ดูแลพระธาตุ...หรือทางล้านนาเรียก..เสื้อพระธาตุ"

    "อาศรมพระนางเจ้าจามเทวี ผู้สร้างวัดพระธาตุดอยคำ พร้อมพญากากะวานรที่วาสุเทพฤษีให้ติดตามรับใช้"

"อาศรมพ่อปู่วาสุเทพฤาษี"

ทางออกสู่ระเบียง..จุดชมวิวเมืองเชียงใหม่

ศิลปะงานปูนปั้นที่สวยงามแปลกตา


บันไดนาค ทางเดินลง - เดินขึ้น จากจุดลานจอดรถเชิงดอยคำ









    จากวัดพระธาตุดอยคำ ขับรถย้อนกลับลงมายังบริเวณลานจอดรถเชิงดอย แยกทางขึ้นวัดพระธาตุดอยคำ เป็นที่ตั้งของศาลปู่แสะ-ย่าแสะ

บริเวณลานจอดรถ

"ศาลปู่แสะ-ย่าแสะ"


    ร้านค้าจำหน่ายเครื่องบูชา พ่อปู่แสะ ย่าแสะ จำพวกหมากพลู บุหรี่ ดอกไม้ขาว น้ำแดง



เครื่องบูชาพ่อปู่แสะ ย่าแสะ




ป้ายประชาสัมพันธ์ ประเพณีเลี้ยงดง บวงสรวงปู่แสะ ย่าแสะ

ทางเดินขึ้นสู่พระธาตุดอยคำ

คิวรถแดงขึ้นวัดพระธาตุดอยคำ


   จากลานจอดรถ ขับตรงเข้าไปอีกไม่ไกล ไปยังบริเวณที่จัดพิธิเลี้ยงดง บ้านแม่เหียะใน ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เผื่อไว้คราวหน้าจะได้มาเยือน ชมพิธี


บริเวณลานเลี้ยงดง 



เก็บตกกับผึ้งจิ๋วหรือชันโรง





 ต้นบุก


"พระบฏ...ล็อคเก็ต"

    เก็บเกี่ยวและสัมผัสกับสถานที่ที่เป็นตำนาน หนึ่งเดียวในประเทศไทย มีโอกาสคงได้กลับมาชมพิธีเลี้ยงดง อันเป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความเชื่อเพียงแห่งเดียวและแฝงไว้ด้วยความสามัคคีของชาวบ้านในท้องถิ่น...สัมผัสกับดอยคำ..ม่วนอกม่วนใจ๋ แขกแก้วมาเยือน


เก็บตกศิลปกรรมปูนปั้นที่สวยงาม ในเส้นทางกลับ


วัดช้างค้ำ เวียงกุมกาม