พงไพร ผีป่า นางไม้

พงไพร ผีป่า นางไม้

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เล่าเรื่องด้วยภาพ ตอน สมเด็จพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก


สมเด็จพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง (ใหญ่) 

วัดนางพญา เมืองพิษณุโล




   หนึ่งในพระเครื่องชุดเบญจภาคี กระผม..ผู้เขียน ขอยกให้เป็นสุดยอดแห่งความหายาก หลังจากที่เฝ้าเพียรพยายามเสาะหามานาน จนเกือบจะหลงทิศหลงทาง ในความเป็นสมเด็จพระนางพญาองค์เก่าในยุค เนื้อมวลสสารยุคเก่าเป็นอย่างไร ในที่สุดก็ได้มาครอบครองเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ นี่เอง 

ปฐมบท

    ภาพ...ที่หาดูชมได้ยากยิ่ง กับสมเด็จพระนางพญา ในสภาพที่มีคราบผิวเดิมของดินที่ห่อหุ้มองค์พระ




เปิดผิวพระ



    เมื่อทำการล้างคราบดินออก ได้องค์พระที่มีความสวยสมบูรณ์มาก วรรณะแห้งผาด หมดพราย สีในเป็นสีอิฐโบราณแต่ชั้นผิวองค์พระด้านนอกปรากฏคราบดำ เมื่อสัมผัสดูจะให้ความรู้สึกสากมือ คล้ายดั่งผิวศิลา..องค์พระมีลักษณะหนาใหญ่ ลักษณะพุทธศิลป์แบบพิมพ์ "เข่าโค้ง หนา ใหญ่" 

อัตลักษณ์


การตัดขอบพระ

  พระองค์นี้มีการตัดขอบพระที่เป็นธรรมชาติ เมื่อตัดด้วยมือทำให้ระนาบความเอียงด้านข้างทั้งสองข้าง มีระนาบความเอียงไม่เท่ากัน  
    การปาดตัดขอบพระ ยังแสดงถึงความประณีตอยู่ ซึ่งมีส่วนโค้งของการตวัดตัดที่บรรจง สังเกตจากช่องระยะห่างของรอยตัดที่กินลึกเข้าไปในเนื้อองค์พระ และไม่น่าจะใช่รอยตอกตัด และตอก..ไม่น่าจะทำให้เกิดรอยตัดที่เป็นระเบียบและมีช่องระยะห่าง ลึก สวยงาม กินเนื้อลึกแบบนี้ ความบางของตอก และความหนากับความแข็งเหนียวของมวลสสารองค์พระที่ไม่สมดุลกันกับความบางของตอก





พระชั้นผิวพระ




    มวลสสารพระหมดพราย ดูแล้วซึ้ง น่าชวนมองยิ่งนัก วรรณะผิวที่แห้งผาด สีในเป็นสีอิฐโบราณแต่ชั้นผิวองค์พระด้านนอกปรากฏคราบดำ เมื่อสัมผัสดูจะให้ความรู้สึกสากมือ คล้ายดั่งผิวศิลาเคลือบอีกชั้นหนึ่ง

สิ่งที่ค้นพบใหม่ๆ ย่อมเป็นการต่อยอดกระบวนการความคิดและการศึกษา
 "ดูพิมพ์..ให้ดูได้ แต่ดูเนื้อ...ให้ดูเป็น"



เล่าเรื่องสมเด็จพระนางพญา


  พระพิมพ์ (พระเครื่อง)....คือมงคลวัตถุ อันเป็นสิ่งสักการะสูงสุด เพราะฉะนั้น..ผู้เขียน จึงพึงระลึกได้ว่า..การที่จะสร้างวัตถุมงคล โดยเฉพาะในยุคโบราณ ไม่ว่าจะสร้างในยุคใด สมัยใดหรือตั้งแต่ยุคสมัยอาณาจักรสุโขทัย อันรุ่งเรืองและรุ่งโรจน์แห่งพุทธศาสนา ฉะนั้นพิธีกรรมการสร้างวัตถุมงคลต่างๆ จึงน่าจะควรสร้างอย่างมีพิธีรีตอง นับแต่...การหามงคลฤกษ์ยาม การหาสถานที่ประกอบพิธีกรรม หาผู้ประกอบพิธีกรรม การเสาะหาวัตถุอาถรรพ์ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆมาเป็นเครื่องประกอบและเพื่อเป็นสื่อรองรับการประจุมนต์พระคาถา ดังที่เราเรียกกันว่า..มวลสาร (มวลสสาร) จึงไม่น่าจะสร้างกันอย่างเป็นที่เร่งรีบ อันอาจจะเป็นการลบหลู่ หรือไม่ครบด้วยพิธีกรรม เนื่องด้วยเพราะความเคารพนับถือ ความศรัทธา การบูชา หรือเกรงกลัวในสิ่งที่มองไม่เห็น...นั้นคือ...ความศักดิ์สิทธิ์ 
    หลังจากได้มาครอบครองซึ่งองค์สมเด็จพระนางพญา องค์ดังกล่าวข้างต้น ดุจดังมีปาฏิหาริย์ทำให้ได้ครอบครององค์สมเด็จพระนางพญาองค์อื่นๆ ดุจดังมีกระแสคลื่นแม่เหล็กที่มีแรงดึงดูดกัน


สมเด็จพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง

วัดนางพญา เมืองพิษณุโลก



    สมเด็จพระนางพญา พิมพ์เข่าตรงองค์นี้ จัดได้ว่ามีทรวดทรงองค์พิมพ์ที่สวยงาม คราบผิวพระปกคลุมด้วยราดำที่กินลึก มวลสสารแห้ง หมดพราย ผ่านกาลเวลาหลายร้อยปี มวลสสารที่ละลายสลายมาประสานรวมตัวกันลบรอยความกระด้าง ทำให้พระดูเป็นธรรมชาติ ไม่มีเหลี่ยมคมจากการพิมพ์พระ ทรวดทรงจึงดูอ่อนช้อย สวยงามยิ่ง

การละลาย สลายตัวของมวลสสาร

    
    การละลายตัวของมวลสสาร (เนื้อพระ) ทำให้เกิดการย่อยสลายเป็นสสารที่มีโมเลกุลเล็กลงแล้วรวมประสานกัน 
    พระองค์นี้...มวลสสารมีการละลายตัวสูงมากจึงทำให้แนวร่อง แอ่ง ที่เกิดจากการปาดตัดขอบองค์พระทั้งสามด้าน มองไม่เห็นรอยตัด ดูกลมกลืน เนื่องจากการสลายตัวของมวลสสาร มาซ่อมแซมผิวพระและรอยลึกจากการตัดขอบ..จึงดูลบเลือนหายไป


พระนางพญา องค์มหัศจรรย์แร่เหล็กไหลผุด



(ด้านหน้า)

(ด้านหลัง)



    วงพระกรซ้าย (วงแขนซ้าย) วางเป็นวงโค้งลึก สอดเข้าไปข้างในรอบบั้นพระองค์ (เอว) สวยงามมาก


เม็ดแร่เหล็กไหลผุด ทั่วผิวองค์พระนางพญา






   เม็ดแร่ที่มีสัณฐานดูกลมกลึง ขนาดจิ๋วมากๆ ส่องเป็นประกายแบบผิวใส สีน้ำเงินเข้มหรือสีนิล นับว่าเป็นความหัศจรรย์แห่งการสรรสร้างพระพิมพ์ด้วยมวลสสารที่แสดงถึงการผ่านกาลเวลามาหลายร้อยปี เป็นพระสมเด็จนางพญาองค์ที่สุดอีกองค์หนึ่ง...."สมเด็จพระนางพญา องค์แร่เหล็กไหลผุด"....

 "ดูพิมพ์..ให้ดูได้ แต่ดูเนื้อ...ให้ดูเป็น"

เขียนและเล่าเรื่องโดย...ร.ต.ท.อภิชาติ ปัดภัย  (ชาติ เชียงราย) ..Knowledge are endless. "การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด" ขอชมองค์พระ ติดต่อ..apichatimm@gmail.com  (สงวนสิทธิ์บทความ รูปภาพ ๒๕๖๑ - สนใจติดต่อผ่านอีเมล)

หนึ่งในตำนานแห่งความนิรันตราย พระหลวงปู่ทวด พิมพ์เตารีด เนื้อว่าน ปี ๒๔๙๗


    ปฐมบท...แห่งนักสะสม นักนิยมหรือผู้ศรัทธาในพระเครื่อง ไม่มีใครที่จะไม่รู้จัก "หลวงปู่ทวด" แห่งวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ซึ่งรู้จักกันดีในนาม ""หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด" กับรูปแบบพิมพ์ทรงที่เห็นแล้วต้องรู้จักในทันทีทันใดว่านี้คือ หลวงปู่ทวด นั้นคือ....รูปแบบพิมพ์ทรงสามเหลี่ยมคล้ายเตารีด..
    พระเครื่องหลวงปู่ทวด จัดได้ว่าเป็นพระเครื่องประเภทแรก ที่ชักนำให้กระผม..ผู้เขียน หันมาศรัทธาและเริ่มแสวงหาและศึกษาพระเครื่อง ปฐมเหตุแห่งการรู้จักพระ..หลวงปู่ทวด เนื่องจากการตีพิมพ์เกี่ยวกับประสบการณ์ต่างๆของผู้ที่ห้อยพระหลวงปู่ทวด ไม่ว่าจะในหน้าหนังสือพิมพ์ ในนิตยสารพระหรือนิตยสารต่างๆ และก็..จากการที่มาสะดุดกับคำว่า "เหยียบน้ำทะเลจืด"....

หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน พิมพ์เตารีดใหญ่ ไหล่จุด หัวมีขีด 

ปี ๒๔๙๗


   พระเครื่องหลวงปู่ทวด แห่งวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี นับว่าเป็นพระพิม์รูปเคารพบูชาแบบพระสงฆ์เพียงรูปเดียว ที่พิมพ์รูปออกมาโดยมีฐานบัวรองรับ ซึ่งปกติแล้ว ดอกบัวหรือฐานบัวจะใช้สำหรับรูปเคารพหรือปฏิมากรรมเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าเท่านั้น จึงเป็นตำนานที่กล่าวกันว่า "หลวงปู่ทวด" ในภายภาคหน้า ท่านคือ พระศรีอาริยเมตไตรย หรือพระศรีอาริย์ พระพุทธเจ้า องค์ที่ ๕ ที่จะเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ในภัทรกัปนี้ ต่อจาก พระโคตมะ พระสมณโคดม (เจ้าชายสิทธัตถะ) พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ ในปัจจุบันของภัทรกัปปัจจุบันนี้ 
    เมื่อพระศรีอาริย์ ได้เสด็จลงมาโปรดยังโลกมนุษย์ จะได้ประทับรอยพระพุทธบาทบาทซ้อนทับไว้อีกรอย ที่ "พระพุทธบาทสี่รอย " อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลายเป็นรอยที่ ๕ แล้วพระพุทธบาทนั้นจะหลอมรวมกันเป็นหนึ่ง ภายใต้โลกใหม่แห่งพระศรีอาริยเมตไตรยหรือโลกพระศรีอาริย์...

พระพุทธบาทสี่รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่


อัตลักษณ์


   หลวงปู่ทวด ปี ๒๔๙๗ มวลสสารแบบเนื้อว่านผสมดินกากยายักษ์หรือดินถ้ำมูลค้างคาว พร้อมมวลสารอื่นๆเช่น..กล้วย... สำหรับองค์นี้มีไขว่านผุดเป็นจุดๆ และแผ่คลุมองค์พระ จนแทบจะมองไม่เห็นสีเนื้อในองค์พระ ซึ่งเป็นสีเทาอมดำ


คราบไขผุดและวรรณะมวลสสาร

  
 สำหรับไขที่ผุดขึ้นบนผิวพระ จะมีทั้งไขใหม่แบบสีขาวนวลและไขเก่าแบบสีน้ำตาลแกมเหลือง ซึ่งจะต้องผุดออกมาจากเนื้อข้างในองค์พระ

ตำหนิเนื้อเกิน


    ตำหนิรอยเนื้อเกินบนบ่าด้านซ้ายแบบกลุ่มเป็นจุด และรอยเนื้อเกินขางศรีษะด้านซ้ายแบบขีด เป็นที่มาของชื่อพิมพ์ "ใหล่จุด หัวมีขีด"

ด้านหลัง


   ด้านหลังฝังแร่ชนิดหนึ่ง มีสีทองเหลือบใส สะท้อนแสงวับวาว ปัจจุบันเชื่อว่าแร่ชนิดนี้คงหายาก หรือไม่มีแล้ว จึงเป็นการยากที่จะเสาะหา แล้วนำมาฝังหรือโรยในการพิมพ์พระหลวงปู่ทวดในปัจจุบัน

แร่ทองใส



ภาพรวมองค์พระ รวมขอบแม่พิมพ์องค์พระ



  รอยซึ่งเป็นรูเหลี่ยมแคบใต้องค์พระ เป็นรอยการนำพระออกจากแม่พิมพ์ เมื่อมวลสสารเกิดการหดตัวและเกิดมวลสสารงอกทับซ้ำใหม่ จึงทำให้รู..ดูแคบลง จนเกือบจะปิดทึบ....





หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ๒๔๙๗ พิมพ์ใหญ่ เอ



  พระเครื่องหลวงปู่ทวด เป็นมงคลในทุกๆด้าน นิรันตรายก็เป็นเอก แต่การที่หาได้พบองค์จริงนั้น เป็นเรื่องสุดลึก..เช่นเดียวกับตำนานหลวงปู่ทวด ท่านยังปรากฏเพียงแค่ตำนาน
  กระผม..ผู้เขียนจึงพอที่รวบรวมลักษณะสำคัญของพระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ เอ พอสังเขปได้ดังนี้ (แต่อย่างไรก็ตาม...เนื้อหา สำคัญที่สุดและยากที่ถ่ายรูปให้เห็นชัดเจนได้)

ลักษณะสำคัญ ด้านหน้า













ลักษณะสำคัญ ด้านหลัง



ลักษณะสำคัญ รูถอดพระ



 "ดูพิมพ์..ให้ดูได้ แต่ดูเนื้อ...ให้ดูเป็น"
   ลักษณะสำคัญที่สุดของพระคือ เนื้อ...ไม่ว่าจะเป็นพระบูชา พระเครื่องหรือพระพิมพ์ห้อยคอ        ..      "เนื้อเป็นเอก พิมพ์เป็นรอง"

เขียนและเล่าเรื่องโดย...ร.ต.ท.อภิชาติ ปัดภัย  (ชาติ เชียงราย) ..Knowledge are endless. "การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด" ขอชมองค์พระ ติดต่อ..apichatimm@gmail.com  (สงวนสิทธิ์บทความ ๒๕๖๑ - สนใจติดต่อผ่านอีเมล)