พงไพร ผีป่า นางไม้

พงไพร ผีป่า นางไม้

วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เล่าด้วยภาพ ว่าไปตามเรื่อง...ตอนไขความลับพระกำแพง พิมพ์ซุ้มกอทรงเครื่อง สีเขียว กรุลานทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร

พระซุ้มกอทรงเครื่องผิวสีเขียว กับความลี้ลับที่หาพบเห็นได้ยากยิ่ง


    พระกำแพงซุ้มกอผิวสีเขียว พิมพ์ใหญ่มีกนก องค์ทรงเครื่อง แบบมีกำไลรัดต้นแขน กำไลรัดข้อมือ กำไลรัดข้อเท้า จำนวน ข้างละ ๓ วง รวมทั้งหมด ๑๘ วง การทรงเครื่องชั้นสูงแสดงถึงสัญลักษณ์แห่งมหาอำนาจหรือผู้ปกครองชั้นสูง พอจะตั้งสมมติฐานได้ว่า เป็นการสร้างหรือการอุปถัมภ์การสร้างโดยชนชั้นผู้ปกครองชั้นสูงสุดของสังคมยุคนั้น 
   เป็นพระพิมพ์ที่ เป็นข้อถกเถียงกันว่ามีจริงหรือไม่  พิจารณาและเล่าเรื่องด้วยภาพก็แล้วกันครับ

อัตลักษณ์


เม็ดแร่ผุด



  เม็ดแร่หรือเม็ดกรวดก้อนเล็กๆตั้งแต่ขนาดจิ๋วขึ้นมา ผุดขึ้นทั่วองค์พระ (เล็กจิ๋วมาก ถ่ายรูปชัดยาก) แสดงถึงการยุบหรือห่อหดตัวของมวลสารพระ แล้วบีบให้ชั้นมวลสารที่มีความแข็งกว่า คือแร่เม็ดกรวดต่าง ผุดขึ้นมา จนดูลอยสูงเด่นกว่ามวลสารเนื้ออ่อน 
   การที่เม็ดแร่หรือกรวดต่างๆ ลอยผุดขึ้นมาก็เนื่องจากความแข็งนั่นเอง ที่ไม่สามารถหดตัวหรือหดตัวยากหรือต้องใช้ระยะเวลานานมาก จึงยังคงตั้งอยู่ ส่วนมวลสสารเช่นผงดิน ว่านต่างๆ ซึ่งมีความอ่อนกว่า จึงหดและยุบตัวลงตามกาลเวลา หลักการนี้ นิยมใช้ในการดูพระเครื่องเนื้อดิน เช่น....พระนางพญา แห่งเมืองพิษณุโลก...
    แต่...ตรงกันข้ามกับพระเครื่องเนื้อดิน ในองค์ที่เป็นพระกรุน้ำ เช่นโดนน้ำท่วม น้ำฝนชะล้าง...จะไม่เรียกว่า เม็ดแร่ผุด แต่จะเป็น เม็ดแร่ลอย..เนื่องจากการสูญเสียหรือถูกทำลายของชั้นมวลสารที่เป็นเนื้ออ่อนโดยรอบเม็ดแร่กรวดนั้นๆ.....

ชั้นผิวหินปูน


    ชั้นผิวหินปูน (ใน)คือการละลายตัวของแคลเซียมออกมา (แคลไซด์) แล้วสะสมแห้งตัวเป็นคราบความแข็งบนชั้นผิวองค์พระ ซึ่งเรียกว่าชั้นผิวหินปูน ซึ่งจะมีโทนสีที่อิงสสารหลักหรือมวลสารหลักขององค์พระ เนื่องจากเป็นการละลายนำพาแร่ธาตุต่างในมวลสารหลักออกมาด้วย
    พระพิมพ์ซุ้มกอองค์นี้ จะมองไม่เห็นผิวชั้นปูนแรกหรือชั้นปูนดั้งเดิม เนื่องจากเกิดการสะสมและทับถมกันของคราบกรุจากภายนอก ผิวคราบชั้นหินปูนจึงเกิดหลากหลายสี เช่นสีส้มอมแสดกึ่งชมพู สีเทาหม่นและสีขาว ..เป็นต้น ซึ่งเป็นการละลายตัวออกมาตามสีชั้นผิวที่สะสมปิดทับ ซึ่งมีองค์ประกอของแร่เหล็กเป็นหลัก

การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของดิน หิน

     จากการที่ได้ครอบครององค์พระพิมพ์ซุ้มกอองค์นี้ ที่เป็นพิมพ์พิเศษแบบทรงเครื่องพร้อมกับชั้นคราบกรุที่เกิดหลายชั้นหลากสี จนมีชั้นผิวสีเขียวเป็นสีล่าสุด ผมจึงได้พยายามค้นคว้าและเพียรสงสัยถึงวิวัฒนาการของชั้นผิวสีเขียว จนกระทั่งได้ขุดพบดินก้อนหนึ่ง จึงได้ทำการทุบเพื่อจะดูชั้นวิวัฒนาการทั้งทางกายภาพและทางเคมี ผลปรากฏพบว่า สีที่อยู่ชั้นในหรือใจกลางดินก้อนนี้ เป็น....สีเขียว สันนิษฐานว่า..เป็นการสลายตัวของธาตุเหล็กในดิน
    จึงพอจะตั้งสมมติฐานได้ว่า..การเปลี่ยนแปลงของชั้นสีเขียว กินระยะเวลานานที่สุด...ของมวลดินก้อนนี้


ก้อนดินอายุเก่าแก่ ชั้นใจกลาง..สีเขียว





ชั้นสีเขียวในมวลหิน

    เมื่อมาวิเคราะห์โทนสี ที่เป็นชั้นวิวัฒนาการตามระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของชั้นดิน หิน แล้ว พอจะอนุมานไล่ตามการกำเนิดก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนแปลงไปทีละสี จึงพอจะไล่เฉดสีหรือการเปลี่ยนแปลง..ดังนี้ 
    ใส - (ใส)ขุ่น - ขาว - เหลือง - ส้ม - แดง ดำ เขียว (สีที่เข้มขึ้นต่างๆ จนไปสู่วิวัฒนาการแห่งอัญมณี)

ชั้นวิวัฒนาการในดิน หิน

    สุดท้าย ชั้นผิวสีเหลืองแบบขมิ้น เป็นอีกหนึ่งเฉดสีที่มีความสำคัญในวิวัฒนาการของ...พระกรุ ซึ่งจะได้กล่าวในตอนอื่นๆ


"ดูพิมพ์..ให้ดูได้ แต่ดูเนื้อ...ให้ดูเป็น"
"ความรู้อยู่ที่การแสวงหา ไม่ใช่อยู่แค่ในตำรา"

เขียนและเล่าเรื่องโดย...ร.ต.ท.อภิชาติ ปัดภัย  (ชาติ เชียงราย) ..Knowledge are endless. "การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด" สงวนสิทธิ์ ๒๕๖๐...สนใจ..ติดต่อ apichatimm@gmail.com

3 ความคิดเห็น:

  1. .ผมมี2องค์เนื้อเขียวพิมย์ใหญ่กำไล18วง



    . ,

    ตอบลบ
  2. ผมมีเหมือนองค์นี้เลยได้ความรู้มากเลยครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  3. ผมมีเหมือนองค์นี้เลย..ทรงเดียวกันแต่เป็นสีดำครับ

    ตอบลบ