"ศาลหลักเมืองเก่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดตาก"
"ศาลหลักเมืองเก่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดตาก" ตั้งอยู่ที่บ้านปากร้อง หมู่ที่ ๖ ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก
"สะพานตากสินราชานุสรณ์"
ถ้าเดินทางมาจากอีกฝั่งของแม่น้ำปิง (ฝั่งตัวเมืองตาก) ใช้เส้นทางข้ามแม่น้ำปิงที่สะพานตากสินราชานุสรณ์ แล้วขับตรงไปประมาณ ๓ กิโลเมตร กลับรถตรงจุดกลับ..เลยสะพานข้ามห้วยแม่ท้อ จะเห็นทางเข้าอยู่ตรงเชิงสะพาน...หมู่บ้านปากร้อง หมู่ที่ ๖ ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก ขับรถตรงเข้าไปในหมู่บ้านประมาณ ๓๐๐ เมตร จะพบบริเวณที่ตั้งศาลเสาหลักเมืองเก่า ในครั้นยุคสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อยู่ทิศด้านซ้ายมือ
"ศาลหลักเมืองเก่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดตาก" ตั้งอยู่ที่บ้านปากร้อง หมู่ที่ ๖ ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก
เสาหลักเมืองไม้แต่ละต้น จะปรากฎให้เห็นสภาพร่องรอยพื้นผิวแห้ง กร่อน แสดงความเก่าแก่ตามกาลเวลา
ปัจจุบันมีเสาหลักเมืองที่ทำจากหินแกรนิตอีก จำนวน ๔ ต้น รวมเสาหลักเมืองทั้งหมด จำนวน ๑๐ ต้น ลักษณะของเสาหลักเมืองทั้งหมด มีลักษณะเป็นเสายืนต้น ด้านบนเหลาหรือกลึงแหลมมน คล้ายๆแบบรูปศิวลึงค์ ในแบบศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
"ศาลหลักเมืองเก่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดตาก"
"ศาลหลักเมืองเก่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดตาก" ตั้งอยู่ที่บ้านปากร้อง หมู่ที่ ๖ ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก
เสาหลักเมืองไม้แต่ละต้น จะปรากฎให้เห็นสภาพร่องรอยพื้นผิวแห้ง กร่อน แสดงความเก่าแก่ตามกาลเวลา
ปัจจุบันมีเสาหลักเมืองที่ทำจากหินแกรนิตอีก จำนวน ๔ ต้น รวมเสาหลักเมืองทั้งหมด จำนวน ๑๐ ต้น ลักษณะของเสาหลักเมืองทั้งหมด มีลักษณะเป็นเสายืนต้น ด้านบนเหลาหรือกลึงแหลมมน คล้ายๆแบบรูปศิวลึงค์ ในแบบศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
"ประวัติโดยย่อของเสาหลักเมืองตาก"
ภายหลังการประกาศอิสรภาพหลั่งน้ำสิโณทกแห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประมาณปี พ.ศ. ๒๑๒๗ พระองค์ทรงนำกองทัพและผู้คนเข้ามาทางช่องทางด่านแม่ละเมา หยุดรวบรวมไพร่พลที่ด่านแม่ละเมา และหลังจากนั้นได้ไปสักการะบูชาเจดีย์ยุทธหัตถี และจัดพิธีสัการะบูชาดวงพระวิญญาณพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เพื่อเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญแก่กองทัพและประชาชน ซึ่งตอนนั้น..เกาะตะเภา(บ้านตาก)..ยังคงมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านอยู่ พระองค์จึงทรงพิจารณาเล็งเห็นว่าเกาะตะเภา..แห่งนี้ ทำเลยังไม่เหมาะสมที่จะเป็นเมืองหน้าด่าน จึงทรงปรึกษาหารือเพื่อหาทำเลที่มีชัยภูมิอันเหมาะสมและดีกว่า เพื่อที่จะสร้างเมืองหน้าด่านแห่งใหม่ กอปรกับตรงช่วงฤดูน้ำหลากพอดี พระองค์จึงทรงให้ต่อเรือแพนำทหารและผู้ติดตามล่องแพมาตามลำน้ำแม่ปิง จนกระทั่งมาถึงจุดที่พักแพ ซึ่งเป็นที่ที่ลำห้วยแม่ท้อไหลมาตัดบรรจบกับแม่น้ำปิง ในเขตพื้นที่หมู่บ้านระแหง หรือเมืองตากในปัจจุบัน จึงพบว่าทำเลที่ตั้งฝั่งตะวันตกคือหมู่บ้านป่ามะม่วง ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามหมู่บ้านระแหง น่าจะเป็นทำเลที่เหมาะสมดีในการที่จะตั้งเมืองหน้าด่านแห่งใหม่ จึงทรงให้สร้างพระตำหนักที่ประทับขึ้นหลังหนึ่งเรียกว่า "พระตำหนักป่ามะม่วง" และเห็นควรตั้งเขตทำเลที่ตั้งบ้านป่ามะม่วงแห่งนี้เป็นเมืองหน้าด่านแห่งใหม่ เพราะด้านฝั่งตะวันออกมีแม่น้ำปิงขวางกั้น ส่วนด้านทิศใต้ก็มีลำห้วยแม่ท้อตัดผ่าน เป็นชัยภูมิที่ได้เปรียบด้านการศึก เหมาะกับการรุกและรับ จึงทรงสั่งให้ตั้งเสาหลักเมืองทันที ซึ่งเป็นเสาหลักเมืองที่ทำด้วยไม้มงคล ..ยังคงตั้งอยู่และมีสภาพไม้ที่เก่าแก่ผุกร่อนไปตามกาลเวลา
ปัจจุบัน เสาหลักเมืองสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปากร้อง หมู่ที่ ๖ ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
ภายในบริเวณที่ตั้งศาลเสาหลักเมือง ยังมีศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ประดิษฐานให้เคารพกราบไหว้บูชา
ป้ายจารึก เกี่ยวกับการสร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
ภายในศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าพ่อหลักเมือง รูปคติความเชื่อคล้ายแบบชาวจีน
"เจ้าพ่อหลักเมืองตาก"
"เล่าเรื่องเกี่ยวกับ..เสาหลักเมือง"
"เสาหลักเมือง" เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของการก่อตั้งชุมชนหรือเมือง ตามคติความเชื่อของศานาพราหมณ์ - ฮินดู เพื่อให้เทพ เทวดาอารักษ์ ผู้รักษาปกป้องเมืองสิงสถิตย์อยู่อาศัย ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธฺิ์ ที่รวมจิตใจของประชาชน ให้มีความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และน่าจะเกี่ยวข้องกับการวางผังดวงเมืองเพื่อให้บ้านเมืองมีความสงบสุขร่มเย็น ดังเช่น..คติความเชื่อการสร้าง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง หรือการสร้าง เสื้อพระธาตุ เพื่อเป็นที่ปกปักษ์รักษาองค์พระธาตุหรือวัตถุศักดิ์สิทธิ์ ที่สถิตย์ภายในองค์พระธาตุ ตามคติที่ปรากฏในวัดล้านนาทางภาคเหนือ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น