พงไพร ผีป่า นางไม้

พงไพร ผีป่า นางไม้

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ดอยอินทนนท์...การเดินทางผ่าน..เส้นทางบุญ สู่เส้นทางท่ามกลางสายลมและสายหมอก..พิชิตจุดสูงที่สุดของเมืองไทย

"สูงสุดแดนสยาม...ดอยอินทนนท์"

"บรรยากาศท่ามกลางสายลมและสายหมอก"

จุดชมวิวกิ่วแม่ปาน "ดอยอินทนนท์" อีกครั้งกับการเดินทางแบบ "คาวบอย"

     การเดินทางครั้งนี้อยู่ในช่วงหน้าฝนปลายเดือนมิถุนายน 2557 ใช้เส้นทางจาก ตาก - เถิน - ลี้ - บ้านโฮ่ง - จอมทอง - ดอยอินทนนท์ 

ป้ายบอกทางไปอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ผมชอบคำว่า "ถนนสายบุญ"   ได้ความรู้สึกแบบปลอดโปร่งจริงๆ
  
    เนื่องจากอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นถิ่นกำเนิดของ "ครูบาเจ้าศรีวิชัย ตนบุญแห่งล้านนา" และอริยสงฆ์อีกหลายรูป ทั้งเป็นเมืองที่มีความสงบเงียบ ผู้คนล้วนน้ำใจงาม การเดินทางไปยังอำเภอลี้จึงเปรียบเสมือนหนึ่งได้เดินทางจาริกตามรอยบุญแห่งเหล่าพระอริยะเจ้า

"ถนนสายบุญ แห่งเดียวในประเทศ"

      เส้นทางช่วงก่อนเข้าอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นทางโค้ง...แบบโค้งต่อโค้ง สองข้างทางเป็นป่าดิบต้นน้ำ สวยงาม ดูเขียวขจีด้วยไม้น้อยใหญ่ ร่มรื่นดูสบายตา

 ช่วงนี้พอจะหยุดถ่ายรูปได้ ช่วงโค้งอื่น หยุดรถไม่ได้เลย โดนเสยท้ายแน่ๆ

    เข้าสู่เมือง "ลี้"..ทิ้งเส้นทางดอยโค้งไว้เบื้องหลัง เป็นเมืองอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ป่าเขา สมกับที่ชื่อว่า.."ลี้" เพราะคงจะหมายถึง...."เมืองที่แอบหรือซ่อนตัว อยู่ท่ามกลางป่าเขา"



สะสมเสบียง จากเพิงร้านค้าข้างทาง


ลูกนี้..เป็นแตงไทยโบราณ รสชาติหวานหอม สอบถามแม่ค้าเรียกว่า "แตงหมี" สังเกตุน้ำหนักครับ

เห็ดป่าหลากชนิด


"เห็ดไข่เหลือง"

        ขอแนะนำเห็ดที่ผมชอบมาก รูปไม่สวย ทำแกงแล้วรสชาติออกเหนียวๆ เคี้ยวหนุบหนับ..."เห็ดห้าหรือเห็ดตับเต่า"


เริ่มจาริกบุญ ตามวัดวาอารามรายทาง 

"วัดพระธาตุห้าดวง"

      เส้นทางเข้าวัดโดดเด่นมาก ผมชอบมากเลย..เป็นเส้นทางเข้าวัดที่สวยงามมากและเป็นเอกลักษ์ของวัดส่วนใหญ่ทางแถบนี้

    คติการสร้างวัดทางล้านนา นิยมสร้างเจดีย์ไว้หลังวิหาร โดยเจดีย์ศิลปะทางล้านนาจะเน้นความโดดเด่นที่ฐานของเจดีย์ ส่วนระฆังจะมีขนาดเล็ก ปิดด้วยแผ่นทองจั๋งโก๋ ตามแบบของล้านนา

"วัดพระธาตุดวงเดียว"

มีเจดีย์ประธาน 1 องค์

"อนุสาวรีย์ 3 ครูบา"
ครูบาเจ้าศรีวิชัย ครูบาอภิชัยขาวปี และครูบาชัยยะวงศาพัฒนา


จัดการมื้อเที่ยงที่ศูนย์อาหาร อำเภอลี้
มีอาหารหลายชนิดให้เลือกทาน พร้อมเครื่องดื่ม ของหวานและผลไม้

"วัดบ้านปาง"
    "บ้านปาง"  ตามประวัติเป็นสถานที่กำเนิดของครูบาเจ้าศรึวิชัย และวัดบ้านปางยังนับเป็นสถานที่สำคัญเกี่ยวเนื่องกับครูบาเจ้าศรีวิชัยในหลายเหตุการณ์เช่น เป็นสถานที่บวชบรรพชา สถานที่มรณภาพและตั้งสรีระไว้เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี ก่อนจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน


                          "วัดบ้านปาง" ตั้งอยู่นเนินเขาลูกย่อมๆ กลางป่า ปัจจุบันบ้านเรือนผู้คนหนาแน่น

 บันไดทางเดินขึ้นวัด


"ครุฑ"ผู้พิทักษ์ และปกป้องความชั่วร้าย


"ยักษ์"ผู้พิทักษ์ และปกป้องความชั่วร้าย

"อาคารพิพิธภัณฑ์บริขารพระครูบาเจ้าศรีวิชัย"


     ด้านหน้าอาคารมีรูปปั้นเสือ อันเป็นนักษัตรประจำปีเกิดของครูบาเจ้าศรีวิชัย พูดถึงสัญลักษณ์ของสิบสองนักษัตร ..คติของทางล้านนาจะไม่มีปีกุน (หมู) แต่จะใช้เป็น..ปีไก๊..หรือปีกุญชร ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปช้าง 

ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์บริขารพระครูบาเจ้าศรีวิชัย


รูปปั้นครูบาเจ้าศรีวิชัยขนาดใหญ่ ตั้งโดดเด่น

"สถานที่เคยเป็นที่ตั้งสรีระครูบาเจ้าศรีวิชัย"



เสาศิลาจารึกสถานที่กำเนิดครูบาเจ้าศรีวิชัย



ลักษณะคล้ายเสาพระเจ้าอโศกมหาราช ประกาศเขตพระพุทธศาสนา

     เดินทางต่อไปยังดอยอินทนนท์ โดยเลี้ยวซ้ายที่แยกอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ผ่านอำเภอเวียงหนองล่อง เข้าสู่เขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เส้นทางขึ้นสู่ดอยอินทนนท์




ทางเข้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

เส้นทางขึ้นเป็นทางลาดชัน โค้งเขา ถนนลาดยาง สะดวกสบาย


 แปลงนา..เกษตรรายทาง

     "บ้านขุนกลาง" อยู่ก่อนถึงตัวที่ทำการอุทยานประมาณ 200 เมตร สถานที่พักแรมของเราคืนนี้ ทางอุทยานไม่อนุญาตให้นอนค้างคืนบนยอดดอย คงเพราะความเบาบางของออกซิเจน เนื่องจากเป็นจุดที่มีความสูง และเกี่ยวกับความหนาแน่นของสภาพอากาศ

แยกทางเข้าบ้านขุนกลาง

ลานตลาดนัด

ร้านอาหาร มีทั้งอาหารพื้นเมืองหรือแบบจานด่วนให้เลือก รวมทั้งหมูกระทะบริการส่งถึงหน้าเต้นท์

แปลงดอกไม้บ้านขุนกลาง เห็นน้ำตกสิริภูมิอยู่ด้านหลัง

แสงไฟในแปลงดอกไม้ยามค่ำคืน เป็นการใช้แสงสว่างให้ก้านดอกเบญจมาศยืดตัว

 "ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์"


ติดกับที่ทำการอุทยานมีร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ รถธนาคารกรุงไทยเคลื่อนที่บริการ


      ติดต่อศูนย์บริการนักท่องเที่ยวภายในที่ทำการอุทยาน เพื่อชำระค่าธรรมเนียม ก่อนจะย้อนกลับลงมาบ้านขุนกลางเพื่อพักค้างแรมในลานต้นสน จุดกางเต้นท์ของอุทยานฯ


"ซากกวางป่า" ตั้งไว้ที่จุดบริการนักท่องเที่ยว น่าทึ่งในความใหญ่โตของมันมาก


 เปรียบเทียบขนาดกับคนสูงประมาณ 160 เมตร

มาถึงจุดลานสนกางเต้นท์...บ้านขุนกลาง มืดพอดี

ลานสน...จุดกางเต้นท์ มีเต้นท์ของทางอุทยานบริการให้เช่า ในราคา 220 บาทต่อหลัง

กาแฟตอนเช้าๆ ในหมู่บ้านขุนกลาง


เก็บภาพถ่ายอีกครั้งก่อนขึ้นสู่ยอดอยอินทนนท์


 หลวงพ่อบิณฑบาตช่วงเช้า

เส้นทางขึ้นยอดดอยอินทนนท์




ชมหุบเขา ทัศนียภาพรายทาง



หมอกลงหนาในบางช่วง



 แวะชมจุดแรก "พระมหาธาตุเจดีย์ นภเมทนีดล นภพลภูมิสิริ" ท่ามกลางลมหนาวและสายหมอก

ทางเข้าชม ...หมอกลงหนาทึบ





ชำระค่าบำรุงก่อนเข้าครับ

 เวลาเปิด - ปิด พระมหาธาตุเจดีย์

ลานจอดรถ





พระมหาธาตุ นภพลภูมิสิริ กำลังอยู่ระหว่างบูรณะ (มาไม่ถูกจังหวะ)

รอฟ้าเปิด ก่อนจะเดินขึ้นชมโดยรอบบริเวณ




"องค์พระมหาธาตุ นภเมทนีดล"





ภูมิทัศน์รอบบริเวณ




เดินทางต่อ..หยุดแวะพักที่....จุดชมวิวกิ่วแม่ปาน ที่ระดับความสูง 2157 เมตร








ขอแอคชั่นคาวบอยซะหน่อย




แหวกสายหมอกขึ้นสู่...ยอดดอยอินทนนท์




" 1 กิโลเมตร สู่จุดสูงสุดของประเทศไทย "

ณ ลานจอดรถ บนยอดดอยอินทนนท์





"คนไฟบิน"

ขออุ่นหม้อก๋วยเตี๋ยวเป็นมื้อเช้า (ตอนสายๆ) ซะหน่อย เผื่อจะก่อไฟได้ เล่นเอารอนสันหมดซะเยอะเลย


ทางเดินขึ้นไหว้...กู่ (สถูป) พระเจ้าอินทวิชชานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 7

ทางเดินชุ่มฉ่ำไปด้วยไอหมอกและหยดน้ำ










เห็ด...ดอกจิ๋ว



ป้ายจุดไฮไลท์ของยอดดอยอินทนนท์ "ครั้งหนึ่งในชีวิต กับจุดสูงสุดของประเทศ"




ประวัติดอยอินทนนท์


"กู่ (สถูป) พระเจ้าอินทวิชชานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 7" 

    "กู่ (สถูป) พระเจ้าอินทวิชชานนท์" เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "ดอยอินทนนท์" ก่อนเดิมนั้นมีชื่อว่า "ดอยหลวงอ่างกา" ต่อมาได้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชานนท์ และเป็นสถานที่บรรจุพระอัฐิพระเจ้าอินทวิชชานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ผู้เป็นพระราชบิดา พระราชายาเจ้าดารารัศมี

 ประชาชน..นักท่องเที่ยว..มาเคารพกราบไหว้อยู่เนืองแน่น

"หมุดหลักฐานแสดงจุดสูงสุดแดนสยาม"




เย็นตา เย็นใจ กับสายลมและไอเย็นแห่งสายหมอก ได้เวลาเดินทางกลับแล้ว







ขากลับแวะชม.."น้ำตกแม่ยะ" ชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบอุทยานเช่นเคย


 ลานจอดรถ มองเห็นยอด "น้ำตกแม่ยะ" อยู่โดดเด่น

 ร้านอาหาร น้ำดื่ม มีบริการ ได้บรรยากาศแบบป่าๆ...กลางธรรมชาติครับ

ระยะทางเดินเข้าชม สบายๆ ไม่ชันครับ




หน่วยฯน้ำตกแม่ยะ ก่อนถึงตัวน้ำตก จุดนี้มีห้องสุขาบริการ



"น้ำตกแม่ยะ"

  
    "น้ำตกแม่ยะ" ครั้งหนึ่งเคยได้รับการจัดอันดับเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของประเทศไทยก่อนมีการค้นพบ "น้ำตกทีลอซู" ที่จังหวัดตาก กำเนิดจากสายน้ำจากลำห้วยแม่ยะ ตกจากหน้าผาสูงชันไหลลดหลั่นลงมาประมาณ 32 ชั้น รวมความสูงกว่า 280 เมตร






"การเดินทางไม่เคยสิ้นสุด สำหรับคนรักการเดินทาง"

                                                                                   ซักวันนึง ฉันจะบิน.....แฮ่ๆๆๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น